วิธีที่จะทำให้การวัดค่าการนำไฟฟ้าในน้ำเป็นเรื่องง่าย

ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีการใช้งานเครื่องวัด EC เราควรทราบเกี่ยวกับค่า EC เบื้องต้นก่อน “ค่าการนำไฟฟ้า”หรือ EC คือการวัดความสามารถในการเหนี่ยวนำไฟฟ้าต่อหน่วยพื้นที่ที่กำหนดในระดับอะตอมหรือไอออน เป็นการวัดปริมาณประจุรวมในน้ำทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามเป็นเพียงแค่วัดปริมาณประจุรวมเท่านั้นไม่สามารถแบ่งแยกชนิดของประจุได้ ค่าการนำไฟฟ้าจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่แตกต่างกัน คืออุณหภูมิและชนิดของประจุที่ละลายอยู่ในน้ำ สำหรับหน่วยในการวัดค่า EC จะนิยมรายงานค่าในหน่วย mS/cm และ µS/cm ซึ่งเป็นหน่วยที่รองรับในระดับสากล มักจะเกิดความเข้าใจผิดเสมอเกี่ยวกับการหาปริมาณเกลือโดยการวัดค่า EC ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมหากในตัวอย่างนั้นมีส่วนผสมอื่นๆ รวมอยู่ด้วย เนื่องจากการวัดค่าการนำไฟฟ้าไม่สามารถแยกชนิดของประจุได้ จึงไม่เหมาะกับวัดตัวอย่างที่มีความซับซ้อน ความสัมพันธ์ระหว่างค่า EC และค่าความต้านทานไฟฟ้าเป็นส่วนกลับของกันและกัน ดังนั้นค่าความต้านทาน คือการวัดความสามารถในยับยั้งกระแสไฟฟ้า โดยทั่วไปมักจะใช้ในการวัดหาปริมาณไอออนที่มีปริมาณต่ำในน้ำบริสุทธิ์ ซึ่งหากน้ำที่มีความบริสุทธิ์มากๆ ค่า EC จะต่ำและในทางกลับกันค่าความต้านทานจะต้องสูง (>18MΩ) ชนิดของหัววัดค่า EC แบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน ดังนี้ 1. Two Electrode probe อาศัยหลักการแอมเพอโรเมตริก เหมาะสมกับตัวอย่างน้ำสะอาดที่มีค่า EC ไม่เกิน 5 mS/cm 2. Four ring…

Posted in Uncategorized

ทำความรู้จัก | ค่าความนำไฟฟ้าของน้ำ (Conductivity)

น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดีที่สุด ในอดีตจนถึงปัจจุบันน้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมากในการดำรงชีวิตทั้งใช้ในการอุปโภคและบริโภค จึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบและควบคุมคุณภาพให้มีความสะอาดและปลอดภัยอยู่เสมอ ยังไม่รวมถึงการปลูกผักที่สามารถเจริญเติบโตในน้ำได้หรือที่รู้จักกันในชื่อ ผักไฮโดรโปรนิกส์ ยิ่งจะต้องมีการควบคุมคุณภาพของน้ำโดยเฉพาะ“ค่าการนำไฟฟ้าในน้ำ” (Conductivity) ไม่ให้เกินค่าที่กำหนด โดยปกติในน้ำจะพบสารต่างๆ ที่ละลายอยู่ เช่นแร่ธาตุและสารเคมี สิ่งเหล่านี้เป็นตัวทำละลายที่ละลายในน้ำ Conductivity หรือการนำไฟฟ้า การวัดค่าการนำไฟฟ้าของน้ำซึ่งเกิดจากสารอนินทรีย์ที่ละลายในน้ำ เช่น แอนไอออนของคลอไรด์ ไนเตรต ซัลเฟต และฟอสเฟต (แอนไอออนคือไอออนที่มีประจุลบ) หรือแคทไอออนของโซเดียมแมกนีเซียม เหล็ก และอะลูมิเนียม (แคทไอออนคือไอออนที่มีประจุบวก) หรือกล่าวได้ว่าค่าการนำไฟฟ้าคือค่าที่บ่งบอกความสามารถในการนำไฟฟ้าหรือความสามารถในการยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านน้ำหรือสารละลายนั้นๆ โดยจะขึ้นอยู่กับประจุไฟฟ้าและความเข้มข้นของสารที่ละลายอยู่ในน้ำ เครื่องมือสำหรับวัดค่าการนำไฟฟ้าหรือเรียกว่า EC Meter มีให้เลือกใช้งานหลากหลายประเภท เช่นแบบเครื่องพกพาสะดวก ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก ใช้งานง่าย แบบภาคสนาม ตัวเครื่องมาพร้อมหัววัด และแบบตั้งโต๊ะ เหมาะสำหรับเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการและควบคุมสภาวะแวดล้อมตามมาตรฐานต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง ซึ่งรายงานผลการวิเคราะห์ในหน่วย µS/cm และ mS/cm ให้เลือกใช้ตามคุณภาพของแต่ละแหล่งน้ำ มาตรฐานคุณภาพน้ำค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity) เนื่องจากค่ามาตรฐานของน้ำมีค่าต่ำจึงกำหนดในระดับ µS/cm 1. น้ำจืด/ทะเลสาบ 100 – 2000 µS/cm 2….

ค่า EC ในอุตสาหกรรมชุบโลหะ | Hanna Instruments

อุตสาหกรรมชุบโลหะเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์จากโลหะเหล็ก เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ท่อ และข้อต่อกัลวาไนซ์ เครื่องสุขภัณฑ์ที่ทำด้วยโลหะ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือช่าง น็อตสกรูกุญแจ ส่วนประกอบของเครื่องจักรกลต่างๆ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเซรามิก อุตสาหกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ “อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์” เป็นต้น การชุบโลหะ หมายถึงการทำให้โลหะชนิดหนึ่งเคลือบอยู่บนผิวของโลหะอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีมานานเพื่อปรับปรุงผิวชิ้นงานให้มีความแข็งแรง เพื่อทนต่อการสึกหรอ การเสียดสี ความร้อน รวมถึงป้องกันการกัดกร่อน การชุบเคลือบเป็นการนำวัสดุมาเคลือบติดกับผิวชิ้นงานได้แก่ การพ่นเคลือบด้วยเปลวความร้อน การชุบเคลือบผิวด้วยไฟฟ้าการเคลือบผิวด้วยไอ กายภาพและไอเคมี การทาสี การเคลือบสารแม่เหล็กลงบนแผ่นดิสก์ การชุบโลหะมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ เพื่อตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้เกิดความสวยงาม แวววาว เพื่อป้องกันการผุกร่อน และยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น การนำไฟฟ้า การสะท้อนแสง ทนทานต่อแรงบิด ช่วยในงานเชื่อมประสานโลหะ ทนทานต่อสารเคมี ความสามารถในการยึดเกาะกับเนื้อยางพารา เพิ่มความแข็งแรง เป็นต้น มลพิษและผลกระทบ การใช้สารเคมีหลายชนิดส่งผลโดยตรงต่อมลพิษ มีมลพิษจากของเสียอันตราย มลพิษทางน้ำ หรือมลพิษทางอากาศในลักษณะกลิ่นหรือไอระเหย…

ค่า EC ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร? I Hanna Instruments

ค่า Electrical Conductivity หรือเรียกกันว่า EC คือค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ โดยสารประกอบอนินทรีย์ที่ละลายอยู่ในน้ำสามารถแตกตัวเป็นประจุบวกและประจุลบได้ ไอออนอิสระเหล่านี้จะเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี การวัดค่า EC มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ “อุตสาหกรรมโลหะ” ฯลฯ ที่ต้องการใช้น้ำที่มีค่า EC ค่อนข้างต่ำสำหรับการล้างผลิตภัณฑ์หรือผสมสารเคมี โดยวิธีการวัดค่า EC จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและลดค่าใช้จ่าย จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมและยังเป็นตัวแปรที่สำคัญในการกำหนดคุณภาพของชิ้นงาน รวมไปถึงช่วยลดขั้นตอนการทำงานต่างๆ ได้อีกด้วย ดังนั้นค่าการนำไฟฟ้าของน้ำจึงขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของไอออน ซึ่งมาจากไอออนต่างๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำ ไม่ว่าจะมาจากความเค็มหรือของแข็งที่ละลายอยู่ในน้ำทั้งหมด สารเคมีต่างๆ หรือโลหะหนักที่เจือปนอยู่ในน้ำทำให้น้ำสามารถนำไฟฟ้าได้ ซึ่งช่วยในการระบุความบริสุทธิ์ของน้ำ ยิ่งน้ำบริสุทธิ์มากเท่าไหร่ค่าการนำไฟฟ้าจะยิ่งต่ำมากเท่านั้น (หรือเท่ากับ 0) เปรียบได้ว่าน้ำกลั่นเป็นฉนวน แต่สำหรับน้ำเค็มนำไฟฟ้าได้ดี การวัดค่า EC ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การวัดค่าการนำไฟฟ้าถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถวัดปริมาณไอออนในสารละลายได้อย่างรวดเร็วและเชื่อถือได้ เช่น การวัดค่าการนำไฟฟ้าในน้ำเพื่อทำให้ระบบน้ำมีความบริสุทธิ์อย่างต่อเนื่อง และยังมีการใช้งานในอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น 1.) การวัดปริมาณปุ๋ยในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ : เนื่องจากการเติมปุ๋ยลงในน้ำจะทำให้ค่า EC เพิ่มสูงขึ้น 2.) การวัดความบริสุทธิ์ของน้ำ :…

ปริมาณธาตุอาหารในดิน (ค่า EC) | ปัจจัยหลักในการปลูกพืช

ดิน คือวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่างๆ ผสมกับอินทรียวัตถุ ซึ่งปกคลุมบนผิวโลกอยู่ชั้นกลางทำให้เกิดเป็นแร่ธาตุอาหารในดิน จึงจัดเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยค้ำจุนพืชให้สามารถเจริญเติบโตได้ นอกจากนั้นพืชยังต้องการแสงแดด อากาศ น้ำ และสารอาหารเพื่อเติบโต ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมปริมาณแร่“ธาตุอาหารในดิน” เพื่อให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ ให้ผลผลิตที่ดี ให้ดอกที่สวยงาม ตามที่เราต้องการ โดยการวัดค่า EC ในดินก็จะสามารถประเมินความเหมาะสมของแร่ธาตุอาหารในดินได้ ในประเทศไทยสามารถแบ่งประเภทของดินได้ทั้งหมด 3 ประเภท คือ ดินทราย ดินเหนียว และดินร่วน ซึ่งคุณสมบัติของดินแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันออกไปโดยส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินทราย เป็นดินที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กของหินผุกร่อน เกาะตัวไม่แน่น อุ้มน้ำได้น้อย แต่สามารถระบายน้ำและอากาศได้ดีมาก จึงไม่มีความสามารถในการจับแร่ธาตุอาหารของพืชได้ จึงจัดเป็นดินที่ไม่เหมาะสมในการปลูกพืชเพราะมีแร่ธาตุอาหารต่ำและไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ดินเหนียว เป็นดินที่ประกอบด้วยอนุภาคแร่ที่มีเนื้อละเอียดมาก มีความยืดหยุ่นได้ดีเมื่อเปียกน้ำ เหนียวติดมือ สามารถปั้นเป็นก้อนได้ จึงทำให้มีคุณสมบัติที่ดูดแร่ธาตุอาหารของพืชได้ดี เหมาะสมกับการปลูกพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณมากในการเจริญเติบโต ดินร่วน เป็นดินที่ค่อนข้างละเอียด มีความยืดหยุ่นพอสมควร มีความสามารถในการระบายน้ำได้ปานกลาง เป็นส่วนผสมของทราย ตะกอน และดินเหนียว จึงทำให้มีคุณสมบัติกักเก็บความชื้นและแร่ธาตุอาหารเหมาะแก่การทำการเกษตรมากกว่า จึงถูกเรียกว่า “ดินเกษตร”   แร่ธาตุอาหารหลักในดินที่พืชมีความต้องการมากที่สุด ไนโตรเจน ใบและลำต้นมีความต้องการมากเนื่องจากใช้สังเคราะห์แสงและช่วยทำให้พืชตั้งตัวได้เร็ว ฟอสฟอรัส ดอกและรากมีความต้องการเนื่องจากช่วยในการออกดอก…