วิธีที่จะทำให้การวัดค่าการนำไฟฟ้าในน้ำเป็นเรื่องง่าย

ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีการใช้งานเครื่องวัด EC เราควรทราบเกี่ยวกับค่า EC เบื้องต้นก่อน
“ค่าการนำไฟฟ้า”หรือ EC คือการวัดความสามารถในการเหนี่ยวนำไฟฟ้าต่อหน่วยพื้นที่ที่กำหนดในระดับอะตอมหรือไอออน เป็นการวัดปริมาณประจุรวมในน้ำทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามเป็นเพียงแค่วัดปริมาณประจุรวมเท่านั้นไม่สามารถแบ่งแยกชนิดของประจุได้ ค่าการนำไฟฟ้าจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่แตกต่างกัน คืออุณหภูมิและชนิดของประจุที่ละลายอยู่ในน้ำ สำหรับหน่วยในการวัดค่า EC จะนิยมรายงานค่าในหน่วย mS/cm และ µS/cm ซึ่งเป็นหน่วยที่รองรับในระดับสากล

มักจะเกิดความเข้าใจผิดเสมอเกี่ยวกับการหาปริมาณเกลือโดยการวัดค่า EC ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมหากในตัวอย่างนั้นมีส่วนผสมอื่นๆ รวมอยู่ด้วย เนื่องจากการวัดค่าการนำไฟฟ้าไม่สามารถแยกชนิดของประจุได้ จึงไม่เหมาะกับวัดตัวอย่างที่มีความซับซ้อน

ความสัมพันธ์ระหว่างค่า EC และค่าความต้านทานไฟฟ้าเป็นส่วนกลับของกันและกัน ดังนั้นค่าความต้านทาน คือการวัดความสามารถในยับยั้งกระแสไฟฟ้า โดยทั่วไปมักจะใช้ในการวัดหาปริมาณไอออนที่มีปริมาณต่ำในน้ำบริสุทธิ์ ซึ่งหากน้ำที่มีความบริสุทธิ์มากๆ ค่า EC จะต่ำและในทางกลับกันค่าความต้านทานจะต้องสูง (>18MΩ)

ชนิดของหัววัดค่า EC
แบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน ดังนี้
1. Two Electrode probe อาศัยหลักการแอมเพอโรเมตริก เหมาะสมกับตัวอย่างน้ำสะอาดที่มีค่า EC ไม่เกิน 5 mS/cm
2. Four ring Probe อาศัยหลักการโพเทนชิโอเมตริก รองรับการวัดช่วงกว้าง
3. Electrodeless/Inductive เหมาะสมกับการวัดตัวอย่างแบบต่อเนื่อง และตัวอย่างที่มีค่า EC สูงมาก

เทคนิคที่ควรรู้จะทำให้การวัดค่า EC เป็นเรื่องง่ายๆ

ปัจจุบันเครื่องมือที่จะทำให้เราสามารถประเมินค่า EC ในน้ำได้เบื้องต้น คือใช้เครื่องวัดค่า EC หรือที่เรารู้จักกันว่า EC meter นั่นเอง

หลักการทำงาน
เครื่องวัดค่าการนำไฟฟ้า (EC meter) เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ อาศัยหลักการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้า โดยวัดต่อหน่วยพื้นที่ที่กำหนดหรือวัดปริมาณประจุที่อยู่ในน้ำทั้งหมด แล้วแสดงผลออกมาเป็นค่า EC ที่บริเวณหน้าจอของตัวเครื่อง ซึ่งสัมพันธ์กับค่าของแข็งที่ละลายในน้ำทั้งหมด (TDS)

การปรับเทียบมาตรฐาน (Calibration)
ก่อนการใช้งานจะต้องปรับเทียบมาตรฐาน (Calibration) โดยสามารถทำได้ด้วยการปรับเทียบกับสารละลายมาตรฐานที่ค่าต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้งาน โดยการปรับเทียบที่นิยมใช้ คือการปรับเทียบ 1 จุด ดังนี้ ปรับเทียบที่จุด 84 / 1413 / 5000 / 12880 / 80000 / 111800 µS/cm ที่มีค่าครอบคลุมในช่วงการวัดของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสเปคของตัวเครื่อง ซึ่งบางเครื่องอาจปรับเทียบได้มากกว่า 1 จุด การปรับเทียบมาตรฐานจะทำให้การวัดค่า EC ให้ผลที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น
*** ต้องปรับเทียบบ่อยไหม ? หากใช้งานทุกวัน แนะนำให้ทำทุกวันแต่ถ้าไม่ได้ใช้งานทุกวันให้ทำก่อนการใช้งานเสมอ

วิธีการวัด
ขั้นตอนการวัดสามารถทำได้ง่ายไม่ซับซ้อน เพียงแค่ล้างหัววัดด้วยน้ำปราศจากไอออน (DI) หรือน้ำกลั่น และซับด้วยกระดาษทิชชูแบบเนื้อนิ่ม จากนั้นจุ่มหัววัดลงในบีกเกอร์ตัวอย่างที่ต้องการจะวัดค่า ปริมาณตัวอย่างที่จะใช้ในการวัดจะขึ้นอยู่กับชนิดของหัววัด

การดูแลรักษาอย่างเหมาะสม
การเก็บรักษาหัววัดแนะนำให้เก็บแบบแห้ง แต่ในกรณีหัววัดเป็นแบบรวมทั้งหัววัด pH/EC สามารถเก็บในน้ำยาสำหรับเก็บรักษาหัววัดได้ ถ้าต้องการใช้งานก็ล้างด้วยน้ำกลั่นแล้วเช็ดให้แห้งก็สามารถนำมาวัดได้เลย

คำแนะนำในการใช้งานที่ถูกต้อง
– สังเกตบริเวณปลายหัววัดให้จุ่มให้ท่วม
– เลือกใช้บีกเกอร์พลาสติกในการวัดเท่านั้น
– ก่อนการใช้งานให้ล้างหัววัดด้วยน้ำกลั่นเสมอ
– วิธีการทำความสะอาดหัววัดให้ล้างด้วยน้ำสบู่อุ่น ห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาดโดยเด็ดขาด
– แนะนำให้ปรับเทียบบ่อยๆ และใช้สารละลายมาตรฐานใหม่เสมอ
– ตรวจสอบฟองอากาศทุกครั้ง
– ถึงแม้ว่าตัวเครื่องจะมีโหมดการชดเชยอุณหภูมิแนะนำให้วัดที่อุณหภูมิห้องจะให้ผลดีที่สุด

การเลือกซื้อเครื่องวัดค่า EC
อันดับแรกในการเลือกซื้ออะไรสักอย่างเราจะคำนึงถึงเครื่องมือของผู้จัดจำหน่ายที่เชื่อถือได้ และเป็นแบรนด์ที่ยอมรับพร้อมกับการบริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม สามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งานได้เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและแม่นยำ สามารถใช้งานได้ยาวนาน และที่สำคัญเครื่องมือจะต้องมีใบรับรองการสอบเทียบ Certificate of Calibration จากโรงงานผู้ผลิต

 

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

 

Email Addresses

[email protected]

 

CONTACT US

Line : @hannathailand

FB : HannaThailand