เทคนิคไทเทรตโดยใช้ตัวตรวจวัดแสง | Hanna Instruments

            เทคนิคการไทเทรตคือวิธีการทางปริมาณวิเคราะห์ เป็นการวิเคราะห์หาความเข้มข้นของสารละลายที่ยังไม่ทราบความเข้มข้นแต่ทราบปริมาตรจากสารละลายมาตรฐานที่ทราบความเข้มข้นแน่นอน โดยใช้การเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์เป็นเกณฑ์ในการบอกจุดยุติ เพื่อนำมาคำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายตัวอย่าง             เมื่อโลกได้มีเทคโนโลยีเข้ามาจึงเกิดการพัฒนาเพื่อทำให้การทำงานง่ายขึ้นและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น จึงส่งผลให้มีการพัฒนาเครื่องมือที่จะช่วยลดความผิดพลาดในการทำงาน รวมถึงให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูง นั่นคือ“เครื่องไทเทรต”แบบอัตโนมัติ ในสมัยก่อนการไทเทรตจะทำโดยการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการไทเทรต อาทิเช่น บิวเรต ขวดรูปชมพู่ อินดิเคเตอร์ และสารเคมีต่างๆ มากมาย โดยไทเทรตระหว่างสารตัวอย่างกับสารไตแตรนท์ จากนั้นเติมอินดิเคเตอร์เพื่อใช้ในการบอกจุดยุติของการไทเทรตแล้วนำมาคำนวณหาความเข้มข้นของสารตัวอย่าง ซึ่งกว่าเราจะได้ผลการวัดก็ใช้ระยะเวลาพอสมควรและผลการทดสอบที่เราได้ก็อาจจะไม่ได้ถูกต้องแม่นยำมากนัก เนื่องจากเป็นการสังเกตจุดยุติด้วยตาของผู้ทดลอง จึงได้มีการพัฒนาเครื่องไทเทรตแบบอัตโนมัติขึ้นมาโดยอาศัยหลักการโพเทนชิโอเมตริกหรือวัดค่าศักย์ไฟฟ้าแทนการใช้อินดิเคเตอร์นั่นเอง และในปัจจุบันได้ พัฒนาการไทเทรตแบบอัตโนมัติโดยอาศัยการตรวจวัดแสง ขึ้นมา ทราบหรือไม่ว่า ? ทุกวันนี้พบว่าในโรงงานอุตสาหกรรมพบเจอปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับความล่าช้าและเสียเวลาในการทำงาน ซึ่งต้องอาศัยทั้งเวลาและทักษะในการทำงานของผู้ทดลอง ส่งผลทำให้เกิดความล่าช้าในการผลิตและส่งออกสู่ตลาดไม่ทันการณ์ หากต้องการผลที่ถูกต้องก็ต้องทำการทดลองซ้ำๆ ซึ่งก็ต้องใช้เวลาที่มากขึ้น หากต้องการผลการทดลองที่แม่นยำและรวดเร็วก็อาจจะต้องใช้งบประมาณในการจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดูแล ดังนั้นเพื่อผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือและรวดเร็ว คือการใช้เครื่องไทเทรตแบบอัตโนมัติจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ประเภทของการไทเทรต ดังนี้          1. การไทเทรตกรด-เบส 2. การไทเทรตปฏิกิริยารีดอกซ์ 3. การไทเทรตปฏิกิริยาการเกิดสารเชิงซ้อน 4. การไทเทรตอาร์เจนโตเมตริก 5. การไทเทรตโดยใช้หัววัดไอออน (ISE) 6. การไทเทรตปฏิกิริยาที่ไม่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย…

ระดับความเค็มเท่าไหร่ถึงพอดี | Hanna Instruments

           เกลือหรือเรียกทางเคมีว่าโซเดียมคลอไรด์ โดยปกติคนไทยมักจะบริโภคเกลือสูงประมาณ 3,000 – 5,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเกินมาตรฐานมาก แล้วความเค็มเท่าไหร่ถึงจะพอดี ?ปริมาณเกลือที่ควรจะได้รับจะต้องไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันหรือประมาณ 1 ช้อนชา แหล่งเกลือที่พบในชีวิตประจำวันของเรามาจากเครื่องปรุงรสต่างๆ อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป กุนเชียง แฮม ไส้กรอก    ปลาร้า ปูเค็ม ไข่เค็ม อาหารหมักดอง และขนมขบเคี้ยวต่างๆ             คนไทยส่วนใหญ่บริโภคเครื่องปรุงรสเกือบจะทุกวันที่นิยมมากที่สุดคือ น้ำปลา รองลงมาคือ ซีอิ๊วขาว เกลือ กะปิ ซอยหอยนางรม และผงปรุงรสสำเร็จรูป รวมถึงอาหารสำเร็จรูปที่มีค่าเกลือสูงมาก คือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งมีปริมาณเกลือสูงถึง 1,200 มิลลิกรัมต่อซอง และปลากระป๋อง หากเราได้รับปริมาณความเค็มมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย หรืออาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ ในปัจจุบันพบผู้ป่วยจำนวนมากที่เป็นโรคเกี่ยวกับพฤติกรรมติดเค็ม สาเหตุหลักที่พบมาจากการกินอาหารสำเร็จรูป เน้นกินง่าย รวดเร็วและเน้นความอร่อยของรสชาติ โดยไม่ทันได้คำนึงถึงปริมาณโซเดียมที่แอบแฝงอยู่ในอาหาร เมื่อรู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นโรคประจำตัวแล้ว ดังนั้นเราจึงต้องเรียนรู้วิธีการควบคุมปริมาณของโซเดียมในแต่ละวันให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ทราบหรือไม่ว่า…