การบำบัดน้ำเสียสำหรับการอุปโภคบริโภคในชุมชน

การบำบัดน้ำเสียสำหรับการอุปโภคบริโภคในชุมชน แหล่งน้ำดื่มของสหรัฐอเมริกาจัดอยู่ในกลุ่มที่ปลอดภัยที่สุดในโลก แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงสามารถปนเปื้อนได้เช่นกัน ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของผู้ดื่ม หรืออาจจะเกิดโรคระบาดที่มาจากเชื้อโรคที่แฝงตัวอยู่ในแหล่งน้ำได้ เช่น Cryptosporidium, E.Coli, Hepatitis A, Giardia intestinalis ฯลฯ คุณภาพของน้ำดื่มเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราควรจะคำนึงถึง ดังนั้นน้ำดื่มที่เหมาะสมจะต้องกำจัดสารปนเปื้อนต่าง ๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดโรคก่อนเป็นอันดับแรก ในปัจจุบันขั้นตอนการบำบัดน้ำทั่วไปสามารถทำได้ดังนี้ (ส่วนมากจะเป็นการบำบัดน้ำบนผิวดิน) การแข็งตัวและการตกตะกอน การแข็งตัวและการตกตะกอนมักถูกใช้เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการบำบัดน้ำ โดยการเพิ่มสารเคมีที่มีประจุบวกลงในน้ำ ซึ่งสารเหล่านี้จะไปทำปฏิกิริยากับประจุลบของสิ่งปนเปื้อน และอนุภาคที่ละลายน้ำให้เป็นกลาง เมื่อปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นอนุภาคต่างๆ จะจับกับสารเคมีและก่อตัวเป็นอนุภาคที่ใหญ่ขึ้น เรียกกันว่ากระบวนการ Floc (Flocculation) การตกตะกอน ในระหว่างการเกิดกระบวนการตกตะกอน Floc จะตกตะกอนที่ด้านล่างเพราะเป็นสารประกอบที่หนักกว่า และการตกผลึกจะเป็นการกำจัดอิออน (ละลายน้ำ) ที่ไม่ต้องการในน้ำให้เปลี่ยนรูปเป็นผลึก (ไม่ละลายน้ำ) โดยการเติมสารเคมี เช่น การกำจัดความกระด้าง เป็นการกำจัดแคลเซียมและแมกนีเซียมออกจากน้ำ โดยการเติมปูนขาว และโซดาแอช หรือโซดาไฟ ให้ทำปฏิกิริยากันกลายเป็นผลึก CaCO3 และ Mg(OH)2 การกำจัดเหล็กและแมงกานีส เป็นการเปลี่ยนแปลงเหล็กและแมงกานีสที่สามารถละลายน้ำได้ง่ายเป็นรูปที่ไม่สามารถละลายน้ำ โดยการเติมออกซิเจน คลอรีน โปแตสเซียมเปอร์แมงกาเนต หรือโอโซน ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะเป็นปฏิกิริยาออกซิเดชันทำให้เกิดการตกผลึก…

ปริมาณออกซิเจนในน้ำ และเครื่องมือวิเคราะห์หาปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ

ออกซิเจนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิตเนื่องจากสิ่งมีชีวิตทั้งพืช และสัตว์ย่อมต้องการออกซิเจนเพื่อใช้ในการหายใจ และเจริญเติบโต โดยปัจจัยหลักขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดันบรรยากาศ และความเค็ม ซึ่งสัมพันธ์กันดังนี้ ออกซิเจนละลายในน้ำได้น้อยเมื่ออุณหภูมิสูง เช่นเดียวกับน้ำที่มีความเค็มสูงจะมีออกซิเจนละลายในน้ำได้น้อย แต่สำหรับความดันบรรยากาศเมื่อความดันบรรยากาศสูงจะส่งผลให้ออกซิเจนละลายในน้ำได้ดีอย่างเป็นนัย Dissolved Oxygen หรือที่รู้จักกันว่า DO คือปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำทั้งหมด โดยปกติแหล่งของออกซิเจนเหล่านี้ได้มาจากบรรยากาศ การสังเคราะห์แสงของพืชที่อาศัยอยู่ในน้ำ หรือจากขบวนการเคมีอื่นๆ ในน้ำโดยแหล่งน้ำบางแหล่งมีแร่ธาตุทำปฏิกิริยากันทำให้เกิดออกซิเจนละลายในน้ำ แหล่งน้ำตามธรรมชาติจะพบค่า DO อยู่ที่ประมาณ 5-7 มิลลิกรัมต่อลิตร (mg/L) โดยค่าน้ำที่ดีจะต้องพบค่า DO อยู่ที่ 5-8 mg/L ส่วนน้ำเสียจะพบค่า DO อยู่ที่ 3 mg/L หรือต่ำกว่า จากข้างต้นจะเห็นว่าปริมาณออกซิเจนในน้ำมีความสำคัญโดยตรงต่อสัตว์น้ำมาก เช่น ปลา ซึ่งมีความสัมพันธ์กันดังนี้ ปริมาณค่าดีโอ (DO) mg/L สภาพความเป็นอยู่ของปลา ต่ำกว่า 4 mg/L ปลาตายหมด ต่ำกว่า 4 -6 mg/L มีเพียงปลาจำนวนน้อยมากๆ ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ต่ำกว่า…

Posted in Uncategorized