วิธีที่จะทำให้การวัดค่าการนำไฟฟ้าในน้ำเป็นเรื่องง่าย

ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีการใช้งานเครื่องวัด EC เราควรทราบเกี่ยวกับค่า EC เบื้องต้นก่อน “ค่าการนำไฟฟ้า”หรือ EC คือการวัดความสามารถในการเหนี่ยวนำไฟฟ้าต่อหน่วยพื้นที่ที่กำหนดในระดับอะตอมหรือไอออน เป็นการวัดปริมาณประจุรวมในน้ำทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามเป็นเพียงแค่วัดปริมาณประจุรวมเท่านั้นไม่สามารถแบ่งแยกชนิดของประจุได้ ค่าการนำไฟฟ้าจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่แตกต่างกัน คืออุณหภูมิและชนิดของประจุที่ละลายอยู่ในน้ำ สำหรับหน่วยในการวัดค่า EC จะนิยมรายงานค่าในหน่วย mS/cm และ µS/cm ซึ่งเป็นหน่วยที่รองรับในระดับสากล มักจะเกิดความเข้าใจผิดเสมอเกี่ยวกับการหาปริมาณเกลือโดยการวัดค่า EC ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมหากในตัวอย่างนั้นมีส่วนผสมอื่นๆ รวมอยู่ด้วย เนื่องจากการวัดค่าการนำไฟฟ้าไม่สามารถแยกชนิดของประจุได้ จึงไม่เหมาะกับวัดตัวอย่างที่มีความซับซ้อน ความสัมพันธ์ระหว่างค่า EC และค่าความต้านทานไฟฟ้าเป็นส่วนกลับของกันและกัน ดังนั้นค่าความต้านทาน คือการวัดความสามารถในยับยั้งกระแสไฟฟ้า โดยทั่วไปมักจะใช้ในการวัดหาปริมาณไอออนที่มีปริมาณต่ำในน้ำบริสุทธิ์ ซึ่งหากน้ำที่มีความบริสุทธิ์มากๆ ค่า EC จะต่ำและในทางกลับกันค่าความต้านทานจะต้องสูง (>18MΩ) ชนิดของหัววัดค่า EC แบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน ดังนี้ 1. Two Electrode probe อาศัยหลักการแอมเพอโรเมตริก เหมาะสมกับตัวอย่างน้ำสะอาดที่มีค่า EC ไม่เกิน 5 mS/cm 2. Four ring…

เทคนิคไทเทรตโดยใช้ตัวตรวจวัดแสง | Hanna Instruments

            เทคนิคการไทเทรตคือวิธีการทางปริมาณวิเคราะห์ เป็นการวิเคราะห์หาความเข้มข้นของสารละลายที่ยังไม่ทราบความเข้มข้นแต่ทราบปริมาตรจากสารละลายมาตรฐานที่ทราบความเข้มข้นแน่นอน โดยใช้การเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์เป็นเกณฑ์ในการบอกจุดยุติ เพื่อนำมาคำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายตัวอย่าง             เมื่อโลกได้มีเทคโนโลยีเข้ามาจึงเกิดการพัฒนาเพื่อทำให้การทำงานง่ายขึ้นและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น จึงส่งผลให้มีการพัฒนาเครื่องมือที่จะช่วยลดความผิดพลาดในการทำงาน รวมถึงให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูง นั่นคือ“เครื่องไทเทรต”แบบอัตโนมัติ ในสมัยก่อนการไทเทรตจะทำโดยการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการไทเทรต อาทิเช่น บิวเรต ขวดรูปชมพู่ อินดิเคเตอร์ และสารเคมีต่างๆ มากมาย โดยไทเทรตระหว่างสารตัวอย่างกับสารไตแตรนท์ จากนั้นเติมอินดิเคเตอร์เพื่อใช้ในการบอกจุดยุติของการไทเทรตแล้วนำมาคำนวณหาความเข้มข้นของสารตัวอย่าง ซึ่งกว่าเราจะได้ผลการวัดก็ใช้ระยะเวลาพอสมควรและผลการทดสอบที่เราได้ก็อาจจะไม่ได้ถูกต้องแม่นยำมากนัก เนื่องจากเป็นการสังเกตจุดยุติด้วยตาของผู้ทดลอง จึงได้มีการพัฒนาเครื่องไทเทรตแบบอัตโนมัติขึ้นมาโดยอาศัยหลักการโพเทนชิโอเมตริกหรือวัดค่าศักย์ไฟฟ้าแทนการใช้อินดิเคเตอร์นั่นเอง และในปัจจุบันได้ พัฒนาการไทเทรตแบบอัตโนมัติโดยอาศัยการตรวจวัดแสง ขึ้นมา ทราบหรือไม่ว่า ? ทุกวันนี้พบว่าในโรงงานอุตสาหกรรมพบเจอปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับความล่าช้าและเสียเวลาในการทำงาน ซึ่งต้องอาศัยทั้งเวลาและทักษะในการทำงานของผู้ทดลอง ส่งผลทำให้เกิดความล่าช้าในการผลิตและส่งออกสู่ตลาดไม่ทันการณ์ หากต้องการผลที่ถูกต้องก็ต้องทำการทดลองซ้ำๆ ซึ่งก็ต้องใช้เวลาที่มากขึ้น หากต้องการผลการทดลองที่แม่นยำและรวดเร็วก็อาจจะต้องใช้งบประมาณในการจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดูแล ดังนั้นเพื่อผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือและรวดเร็ว คือการใช้เครื่องไทเทรตแบบอัตโนมัติจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ประเภทของการไทเทรต ดังนี้          1. การไทเทรตกรด-เบส 2. การไทเทรตปฏิกิริยารีดอกซ์ 3. การไทเทรตปฏิกิริยาการเกิดสารเชิงซ้อน 4. การไทเทรตอาร์เจนโตเมตริก 5. การไทเทรตโดยใช้หัววัดไอออน (ISE) 6. การไทเทรตปฏิกิริยาที่ไม่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย…

ระดับความเค็มเท่าไหร่ถึงพอดี | Hanna Instruments

           เกลือหรือเรียกทางเคมีว่าโซเดียมคลอไรด์ โดยปกติคนไทยมักจะบริโภคเกลือสูงประมาณ 3,000 – 5,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเกินมาตรฐานมาก แล้วความเค็มเท่าไหร่ถึงจะพอดี ?ปริมาณเกลือที่ควรจะได้รับจะต้องไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันหรือประมาณ 1 ช้อนชา แหล่งเกลือที่พบในชีวิตประจำวันของเรามาจากเครื่องปรุงรสต่างๆ อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป กุนเชียง แฮม ไส้กรอก    ปลาร้า ปูเค็ม ไข่เค็ม อาหารหมักดอง และขนมขบเคี้ยวต่างๆ             คนไทยส่วนใหญ่บริโภคเครื่องปรุงรสเกือบจะทุกวันที่นิยมมากที่สุดคือ น้ำปลา รองลงมาคือ ซีอิ๊วขาว เกลือ กะปิ ซอยหอยนางรม และผงปรุงรสสำเร็จรูป รวมถึงอาหารสำเร็จรูปที่มีค่าเกลือสูงมาก คือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งมีปริมาณเกลือสูงถึง 1,200 มิลลิกรัมต่อซอง และปลากระป๋อง หากเราได้รับปริมาณความเค็มมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย หรืออาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ ในปัจจุบันพบผู้ป่วยจำนวนมากที่เป็นโรคเกี่ยวกับพฤติกรรมติดเค็ม สาเหตุหลักที่พบมาจากการกินอาหารสำเร็จรูป เน้นกินง่าย รวดเร็วและเน้นความอร่อยของรสชาติ โดยไม่ทันได้คำนึงถึงปริมาณโซเดียมที่แอบแฝงอยู่ในอาหาร เมื่อรู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นโรคประจำตัวแล้ว ดังนั้นเราจึงต้องเรียนรู้วิธีการควบคุมปริมาณของโซเดียมในแต่ละวันให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ทราบหรือไม่ว่า…

การวัดค่า pH ในสระว่ายน้ำ

pH ในสระว่ายน้ำ

สระว่ายน้ำเป็นสถานที่เพื่อสร้างความเพลิดเพลินบันเทิงใจทำให้รู้สึกผ่อนคลายเมื่ออ่อนล้าจากการทำงาน หรือจากการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงเป็นกิจกรรมเพื่อการออกกำลังกาย ไม่เพียงเท่านั้นแต่ยังเป็นพื้นที่แห่งความสุขของสมาชิกทุกคนในบ้านที่มาใช้ชีวิตร่วมกันอีกด้วย เมื่อมีการใช้งานสระว่ายน้ำก็ต้องมีการดูแลรักษาเพราะสระว่ายน้ำไม่ว่าจะตั้งอยู่ในพื้นที่ร่มหรือที่โล่งแจ้งก็มักจะพบสารเคมีปนเปื้อนอยู่ด้วยเสมอ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาวดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรู้ค่า pH ในสระว่ายน้ำ   สระว่ายน้ำปนเปื้อนจากอะไรได้บ้าง ? ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อสระว่ายน้ำประกอบด้วย 3 ข้อ ดังนี้           1. บุคคลที่ลงเล่นน้ำ (รวมถึงสัตว์เลี้ยง) จัดเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดสิ่งสกปรก และปนเปื้อนอยู่ในสระว่ายน้ำ รวมถึงของเสียจากร่างกาย เช่น เหงื่อ ปัสสาวะ น้ำยาซักผ้า น้ำหอม ครีมทาผิว โลชั่นกันแดด ฯลฯ ทำให้จะต้องมีการกำจัดสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นเหล่านี้ด้วยการเติมสารเคมีเป็นระยะๆ เพื่อปรับสภาพน้ำให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา และไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายของผู้ที่ลงเล่นน้ำ           2. สภาพแวดล้อม การปนเปื้อนจากสภาพแวดล้อมสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับบริเวณที่ตั้ง สภาพอากาศ และสภาวะแวดล้อมข้างเคียง เช่นสระว่ายน้ำกลางแจ้ง และสระว่ายน้ำในร่มจะพบการปนเปื้อนที่แตกต่างกัน สำหรับสระว่ายน้ำกลางแจ้งอาจจะเกิดการปนเปื้อนที่ปลิวมากับลม สิ่งสกปรกที่มาจากแมลง หรือการเปลี่ยนแปลงค่า pH ที่มาจากน้ำฝน เป็นต้น …

Quantity Fluoride in drinking water | Is a silent danger that should not be ignored.

Fluoride

FluorideFluoride is the element fluorine’s salt. Found naturally in soil, water, air, mineral stones, and even some foods. particularly seafood and certain vegetables, as well as being produced for a variety of purposes People can obtain natural sources of energy in their daily lives by drinking water and eating food. Fluoride is nearly completely absorbed…

ปริมาณธาตุอาหารในดิน (ค่า EC) | ปัจจัยหลักในการปลูกพืช

ดิน คือวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่างๆ ผสมกับอินทรียวัตถุ ซึ่งปกคลุมบนผิวโลกอยู่ชั้นกลางทำให้เกิดเป็นแร่ธาตุอาหารในดิน จึงจัดเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยค้ำจุนพืชให้สามารถเจริญเติบโตได้ นอกจากนั้นพืชยังต้องการแสงแดด อากาศ น้ำ และสารอาหารเพื่อเติบโต ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมปริมาณแร่“ธาตุอาหารในดิน” เพื่อให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ ให้ผลผลิตที่ดี ให้ดอกที่สวยงาม ตามที่เราต้องการ โดยการวัดค่า EC ในดินก็จะสามารถประเมินความเหมาะสมของแร่ธาตุอาหารในดินได้ ในประเทศไทยสามารถแบ่งประเภทของดินได้ทั้งหมด 3 ประเภท คือ ดินทราย ดินเหนียว และดินร่วน ซึ่งคุณสมบัติของดินแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันออกไปโดยส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินทราย เป็นดินที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กของหินผุกร่อน เกาะตัวไม่แน่น อุ้มน้ำได้น้อย แต่สามารถระบายน้ำและอากาศได้ดีมาก จึงไม่มีความสามารถในการจับแร่ธาตุอาหารของพืชได้ จึงจัดเป็นดินที่ไม่เหมาะสมในการปลูกพืชเพราะมีแร่ธาตุอาหารต่ำและไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ดินเหนียว เป็นดินที่ประกอบด้วยอนุภาคแร่ที่มีเนื้อละเอียดมาก มีความยืดหยุ่นได้ดีเมื่อเปียกน้ำ เหนียวติดมือ สามารถปั้นเป็นก้อนได้ จึงทำให้มีคุณสมบัติที่ดูดแร่ธาตุอาหารของพืชได้ดี เหมาะสมกับการปลูกพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณมากในการเจริญเติบโต ดินร่วน เป็นดินที่ค่อนข้างละเอียด มีความยืดหยุ่นพอสมควร มีความสามารถในการระบายน้ำได้ปานกลาง เป็นส่วนผสมของทราย ตะกอน และดินเหนียว จึงทำให้มีคุณสมบัติกักเก็บความชื้นและแร่ธาตุอาหารเหมาะแก่การทำการเกษตรมากกว่า จึงถูกเรียกว่า “ดินเกษตร”   แร่ธาตุอาหารหลักในดินที่พืชมีความต้องการมากที่สุด ไนโตรเจน ใบและลำต้นมีความต้องการมากเนื่องจากใช้สังเคราะห์แสงและช่วยทำให้พืชตั้งตัวได้เร็ว ฟอสฟอรัส ดอกและรากมีความต้องการเนื่องจากช่วยในการออกดอก…

รู้หรือไม่ ? | ในน้ำทะเลมีค่าไนเตรท ไนไตรต์ และแอมโมเนีย

ในประเทศไทยมีผู้สนใจเลี้ยงสัตว์ทะเลกันมากยิ่งขึ้น ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อความสวยงามและความชอบส่วนบุคคล เมื่อมีความสนใจที่จะริเริ่มเลี้ยงปลาทะเลจึงต้องคำนึงถึงปัญหาของตู้เลี้ยงสัตว์ทะเลทั่วๆ ไป คือการนำน้ำทะเลมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ทะเล จัดเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ดังนั้นน้ำที่เหมาะสมที่สุด คือน้ำทะเลจากธรรมชาติ โดยนำมาผ่านกรรมวิธีในการฆ่าเชื้อ และพักน้ำทิ้งไว้ประมาณ 3-7 วันก่อนจะนำมาใช้งานจริง และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงรองลงมาคือ การควบคุมคุณภาพน้ำในระหว่างเลี้ยงปลา ซึ่งพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง   การวัดค่าแอมโมเนีย ไนเตรต และไนไตรต์ หรือเรียกรวมว่า “สารประกอบไนโตรเจน” ซึ่งเกิดจากการขับถ่ายของเสียของสัตว์น้ำ และเศษอาหารที่ยังคงค้างในตู้ปลา ตามธรรมชาติแอมโมเนียที่เกิดจากของเสียที่สัตว์น้ำถ่ายออกมาจะถูกเปลี่ยนรูปเป็นไนไตรต์ และจะถูกเปลี่ยนมาเป็นไนเตรตโดยแบคทีเรียที่อยู่ตามชั้นกรวดในตู้เลี้ยงปลา ปริมาณแบคทีเรียจะขึ้นอยู่กับของเสียในตู้ปลา   แอมโมเนีย เป็นผลผลิตจากของเสียที่สัตว์น้ำขับถ่ายออกมา เมื่อพบในปริมาณมากอาจทำให้เกิดความเป็นพิษชนิดรุนแรงของน้ำได้ เกิดจากสารประกอบโปรตีนถูกแบคทีเรียย่อยสลายกลายเป็นแอมโมเนีย ไนเตรต เป็นสารประกอบหลักของโปรตีนในน้ำทะเล ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต แบคทีเรียและพืชบางชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้โดยตรง พืชสีเขียวอาจใช้ไนโตรเจนที่อยู่ในสารประกอบ เช่น แอมโมเนียหรือไนเตรต สำหรับการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างโปรตีน มีพิษน้อยกว่าแอมโมเนีย แต่หากพบในปริมาณมากก็จะส่งผลต่อคุณภาพน้ำเช่นกัน ไนไตรต์ เป็นสารที่พบได้น้อยมากในแหล่งน้ำ แต่สำหรับในบ่อเลี้ยงปลาที่มีการให้อาหารประเภทโปรตีนสูงจะทำให้ไนไตรต์เพิ่มขึ้นสูงมาก ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อระบบนิเวศในน้ำ   ปริมาณสารประกอบไนโตรเจนชนิดต่างๆ ที่สะสมในน้ำ เป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาวะความเน่าเสียของน้ำที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะแอมโมเนียพบว่าเป็นพิษต่อปลาและกุ้งในน้ำทะเลเมื่ออยู่ในรูปที่ไม่แตกตัวเป็นไอออน (Unionized Form) ส่วนในรูปที่สามารถแตกตัวได้พบว่าไม่มีพิษต่อสัตว์ทะเล เว้นแต่ว่าจะพบในปริมาณที่สูงมาก โดยการแตกตัวของแอมโมเนียจะขึ้นอยู่กับค่า pH…