วิธีที่ควรทำมากที่สุด | ในการวัดค่า pH

ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีการใช้งานเครื่องวัด pH เราควรทราบถึงความหมายของค่าพีเอชในเบื้องต้นก่อน พีเอชหรือ pH คือการวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำหรือสารละลายอื่นๆ โดยช่วงอยู่ระหว่าง 0 ถึง 14 โดยที่ค่าพีเอช 7 เป็นกลาง และค่าพีเอช ที่น้อยกว่า 7 แสดงถึงความเป็นกรดในขณะที่พีเอช ที่มากกว่า 7 หมายถึงด่างหรือเบส การวัดค่าพีเอชเป็นการวัดปริมาณไฮโดรเจนอิสระและไฮดรอกซิลไอออนในน้ำ น้ำที่มีไฮโดรเจนไอออนอิสระมากกว่าจะเป็นกรดในขณะที่น้ำที่มีไฮดรอกซิลไอออนอิสระมากกว่านั้นเป็นด่าง นอกเหนือจากการวัดค่าพีเอชของน้ำหรือของเหลวแล้วเรายังสามารถวัดค่า pH ของก๊าซ และ ค่า pH ในของแข็งเช่นดิน ผิวหนัง และอาหารได้อีกด้วยโดยใช้เครื่องวัดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษดังรายละเอียดด้านล่าง วิธีที่ควรทำมากที่สุดใน“การวัดค่า pH” คือการใช้ pH meter เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของสารละลาย หลักการทำงาน พีเอชมิเตอร์ (pH meter) เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิก มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ อิเล็กโทรด และเครื่องวัดศักย์ไฟฟ้า (volt meter) เครื่องวัดศักย์ไฟฟ้าจะเปลี่ยนค่าศักย์ไฟฟ้าที่วัดได้ให้เป็นค่า pH การปรับเทียบมาตรฐาน (calibration) ก่อนการใช้งาน จะต้องปรับเทียบมาตรฐาน…

Posted in Uncategorized

Measuring pH in Fruits and Vegetables with Sensor Probe.

Fruit and vegetable consumption is an important factor that promotes growth. Furthermore, age-related development reduces the risk of chronic noncommunicable diseases such as cardiovascular disease, high blood pressure, diabetes, and dementia. aging disease The destruction of cellular tissues in the body is caused by the degeneration of various organs, including cancer, which is caused by…

Posted in Uncategorized

การวัดค่า pH ในเนื้อสัตว์ I ด้วยหัววัดเซ็นเซอร์

เนื้อสัตว์เป็นแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนสูง เป็นโปรตีนที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายได้เกือบทั้งหมด โดยเนื้อสัตว์มีโปรตีนสูงถึง 20% ส่วนที่เหลือเป็นกรดอะมิโนอื่นๆ นอกจากนั้นยังประกอบด้วย“วิตามิน” แร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายอีกมากมาย เนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพดีนั้นจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ความนุ่ม ความชุ่มฉ่ำ กลิ่น และรสชาติ ล้วนขึ้นอยู่กับค่า pH ในตัวอย่างเนื้อสัตว์ อุณหภูมิ ความสามารถในการอุ้มน้ำ และปริมาณของเกลือ เป็นปัจจัยหลักที่กำหนดความสดใหม่ ความน่ารับประทาน และศักยภาพในการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในเนื้อสัตว์ โดยหน่วยงานที่ควบคุมดูแล เช่น EFSA (หน่วยงานเพื่อความปลอดภัยของอาหารยุโรป) และ FSSAI (หน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยด้านอาหารของอินเดีย) ได้เข้าร่วมการวัดค่า pH ในเนื้อสัตว์ เพื่อตรวจสอบคุณภาพทางกายภาพชีวเคมีของเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มาจากเนื้อสัตว์ โดยค่า pH ตามมาตรฐานในเนื้อสัตว์ได้ถูกระบุไว้เป็นข้อมูลอ้างอิงพื้นฐาน ค่า pH ในเนื้อสัตว์ โดยทั่วไปมีดังต่อไปนี้ ผลิตภัณฑ์ ช่วงของค่า pH ไส้กรอกหมัก 4.85 – 6.0 เนื้อวัว 5.4 – 6.0…

Posted in Uncategorized

อุตสาหกรรมใดบ้างที่จำเป็นต้อง”บำบัดน้ำเสีย” ?

การ”บำบัดน้ำเสีย” นับว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ และเป็นความรับผิดชอบของบริษัทที่ต้องช่วยกันรักษาโลกของเราให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อให้ประชากรทุกคนบนโลกยังสามารถอาศัยอยู่กันได้อย่างปลอดภัย จากผลสำรวจพบว่าปริมาณการใช้น้ำทั้งหมดในประเทศสหรัฐอเมริกาคาดว่าอยู่ที่ประมาณ 322 พันล้านแกลลอนต่อวัน โดยครึ่งหนึ่งถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรม ในปี 2017 อุตสาหกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ใช้เงินจำนวน 10.2 พันล้านดอลลาร์ ในการบริหารจัดการน้ำ รวมไปถึงการจัดหาน้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ การบำบัด และการปล่อยน้ำทิ้ง บางบริษัทไม่สามารถบำบัดน้ำเสียได้เอง อาจเป็นเพราะไม่มีใบอนุญาต หรือกระบวนการจัดการซับซ้อนเกินกว่าที่จะจัดการเองโดยไม่มีอุปกรณ์ ในขณะที่การบริการบำบัดน้ำเสียแบบมืออาชีพจะมีใบอนุญาต มีประสบการณ์ และความรู้ทางเทคนิคที่จำเป็น ในราคาที่ไม่แพงเกินไป และเหนือสิ่งอื่นใดต้องมีความปลอดภัยที่สุด ทำไมถึงต้องมีการบำบัดน้ำเสียออกจากโรงงานอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมใดบ้างที่จำเป็นจะต้องได้รับการบำบัดน้ำเสีย ทำไมการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีความสำคัญ ? “การบำบัดน้ำเสีย” หมายถึงการกำจัด หรือทำลายสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียให้หมดไป หรือให้เหลือน้อยที่สุดตามมาตรฐานที่กำหนด และไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากเพราะน้ำส่วนใหญ่จะถูกถ่ายเทกลับสู่ธรรมชาติ ดังนั้นสิ่งสำคัญอันดับแรกก่อนจะปล่อยน้ำสู่สาธารณะ คือต้องมั่นใจว่าปริมาณความเข้มข้นของสารปนเปื้อนในน้ำเสียลดลงตามเกณฑ์มาตรฐานเหมาะสมสำหรับพร้อมปล่อยออก เพราะระดับมลพิษสูงในน้ำเสียส่งผลกระทบร้ายแรงต่อระบบนิเวศในท้องถิ่น และก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพสำหรับผู้ที่อาศัยบริเวณใกล้เคียง อีกทั้งน้ำเสียจากแหล่งต่างกันจะมีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นกระบวนการบำบัดน้ำเสียจึงมีหลายวิธี โดยทั่วไปมี 3 วิธี คือ กระบวนการทางเคมี สามารถทำได้โดยการแยกสารต่างๆ หรือสิ่งปนเปื้อนในน้ำเสียที่บำบัด เช่น โลหะหนัก สารพิษ สภาพความเป็นกรด หรือด่างสูง ที่ปนเปื้อนจากการเติมสารเคมีต่างๆ ลงไป…

Posted in Uncategorized

การวัดค่า pH ในสระว่ายน้ำ

pH ในสระว่ายน้ำ

สระว่ายน้ำเป็นสถานที่เพื่อสร้างความเพลิดเพลินบันเทิงใจทำให้รู้สึกผ่อนคลายเมื่ออ่อนล้าจากการทำงาน หรือจากการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงเป็นกิจกรรมเพื่อการออกกำลังกาย ไม่เพียงเท่านั้นแต่ยังเป็นพื้นที่แห่งความสุขของสมาชิกทุกคนในบ้านที่มาใช้ชีวิตร่วมกันอีกด้วย เมื่อมีการใช้งานสระว่ายน้ำก็ต้องมีการดูแลรักษาเพราะสระว่ายน้ำไม่ว่าจะตั้งอยู่ในพื้นที่ร่มหรือที่โล่งแจ้งก็มักจะพบสารเคมีปนเปื้อนอยู่ด้วยเสมอ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาวดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรู้ค่า pH ในสระว่ายน้ำ   สระว่ายน้ำปนเปื้อนจากอะไรได้บ้าง ? ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อสระว่ายน้ำประกอบด้วย 3 ข้อ ดังนี้           1. บุคคลที่ลงเล่นน้ำ (รวมถึงสัตว์เลี้ยง) จัดเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดสิ่งสกปรก และปนเปื้อนอยู่ในสระว่ายน้ำ รวมถึงของเสียจากร่างกาย เช่น เหงื่อ ปัสสาวะ น้ำยาซักผ้า น้ำหอม ครีมทาผิว โลชั่นกันแดด ฯลฯ ทำให้จะต้องมีการกำจัดสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นเหล่านี้ด้วยการเติมสารเคมีเป็นระยะๆ เพื่อปรับสภาพน้ำให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา และไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายของผู้ที่ลงเล่นน้ำ           2. สภาพแวดล้อม การปนเปื้อนจากสภาพแวดล้อมสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับบริเวณที่ตั้ง สภาพอากาศ และสภาวะแวดล้อมข้างเคียง เช่นสระว่ายน้ำกลางแจ้ง และสระว่ายน้ำในร่มจะพบการปนเปื้อนที่แตกต่างกัน สำหรับสระว่ายน้ำกลางแจ้งอาจจะเกิดการปนเปื้อนที่ปลิวมากับลม สิ่งสกปรกที่มาจากแมลง หรือการเปลี่ยนแปลงค่า pH ที่มาจากน้ำฝน เป็นต้น …