ปริมาณธาตุอาหารในดิน (ค่า EC) | ปัจจัยหลักในการปลูกพืช

ดิน คือวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่างๆ ผสมกับอินทรียวัตถุ ซึ่งปกคลุมบนผิวโลกอยู่ชั้นกลางทำให้เกิดเป็นแร่ธาตุอาหารในดิน จึงจัดเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยค้ำจุนพืชให้สามารถเจริญเติบโตได้ นอกจากนั้นพืชยังต้องการแสงแดด อากาศ น้ำ และสารอาหารเพื่อเติบโต ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมปริมาณแร่“ธาตุอาหารในดิน” เพื่อให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ ให้ผลผลิตที่ดี ให้ดอกที่สวยงาม ตามที่เราต้องการ โดยการวัดค่า EC ในดินก็จะสามารถประเมินความเหมาะสมของแร่ธาตุอาหารในดินได้

ในประเทศไทยสามารถแบ่งประเภทของดินได้ทั้งหมด 3 ประเภท คือ ดินทราย ดินเหนียว และดินร่วน ซึ่งคุณสมบัติของดินแต่ละประเภทก็จะแตกต่างกันออกไปโดยส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของพืช

  • ดินทราย เป็นดินที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กของหินผุกร่อน เกาะตัวไม่แน่น อุ้มน้ำได้น้อย
    แต่สามารถระบายน้ำและอากาศได้ดีมาก จึงไม่มีความสามารถในการจับแร่ธาตุอาหารของพืชได้ จึงจัดเป็นดินที่ไม่เหมาะสมในการปลูกพืชเพราะมีแร่ธาตุอาหารต่ำและไม่สามารถกักเก็บน้ำได้
  • ดินเหนียว เป็นดินที่ประกอบด้วยอนุภาคแร่ที่มีเนื้อละเอียดมาก มีความยืดหยุ่นได้ดีเมื่อเปียกน้ำ เหนียวติดมือ สามารถปั้นเป็นก้อนได้ จึงทำให้มีคุณสมบัติที่ดูดแร่ธาตุอาหารของพืชได้ดี เหมาะสมกับการปลูกพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณมากในการเจริญเติบโต
  • ดินร่วน เป็นดินที่ค่อนข้างละเอียด มีความยืดหยุ่นพอสมควร มีความสามารถในการระบายน้ำได้ปานกลาง เป็นส่วนผสมของทราย ตะกอน และดินเหนียว จึงทำให้มีคุณสมบัติกักเก็บความชื้นและแร่ธาตุอาหารเหมาะแก่การทำการเกษตรมากกว่า จึงถูกเรียกว่า “ดินเกษตร”

 

แร่ธาตุอาหารหลักในดินที่พืชมีความต้องการมากที่สุด

  1. ไนโตรเจน ใบและลำต้นมีความต้องการมากเนื่องจากใช้สังเคราะห์แสงและช่วยทำให้พืชตั้งตัวได้เร็ว
  2. ฟอสฟอรัส ดอกและรากมีความต้องการเนื่องจากช่วยในการออกดอก ผสมเกสร สร้างเมล็ดและช่วยทำให้รากแข็งแรง ดูดอาหารไปใช้ได้ดี
  3. โพแทสเซียม ดอกมีความต้องการเนื่องจากเร่งการออกดอก สร้างแป้ง สร้างน้ำตาล และโปรตีน ทำให้ผลผลิตดี สีของเนื้อผลไม้สวยงาม

 

แร่ธาตุอาหารรองในดิน

  1. แคลเซียม องค์ประกอบในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด หากพืชขาดแคลเซียมจะส่งผลให้ใบใหม่หงิกงอ รากสั้น เกิดจุดสีดำที่ใบ
  2. แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบหลักของคลอโรฟิลล์ ช่วยในการสังเคราะห์วิตามิน กรดอะมิโน และน้ำตาล ปรับสภาวะสภาพกรดให้เหมาะสม หากพืชขาดจะทำให้ใบเหลือง และร่วงหล่นในที่สุด
  3. กำมะถัน เป็นองค์ประกอบหลักของกรดอะมิโน โปรตีน และวิตามิน หากพืชขาดจะทำให้ใบเหลืองซีด และต้นอ่อนแอ

 

แร่ธาตุอาหารในดินที่พืชมีความต้องการน้อยที่สุด

  1. เหล็ก ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ จึงมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์แสงและการหายใจของพืช หากพืชขาดจะส่งผลให้ใบอ่อนมีสีขาวซีดในขณะที่ใบแก่ยังสีเขียวสด
  2. แมงกานีส ช่วยในการสังเคราะห์แสงและการทำงานของเอนไซม์บางชนิด หากพืชขาดจะส่งผลให้ใบอ่อนเหลืองในขณะที่เส้นใบยังคงเป็นสีเขียว
  3. ทองแดง ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ การหายใจ การใช้โปรตีนและแป้ง กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์บางชนิด หากพืชขาดจะส่งผลให้ตายอดชะงักการเจริญเติบโตและกลายเป็นสีดำ ใบเหลืองอ่อน
  4. สังกะสี ช่วยในการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์ และแป้ง หากพืชขาดจะส่งผลให้ใบเหลืองซีด รากสั้นไม่เจริญเติบโตตามปกติ
  5. โบรอน ช่วยในการออกดอกและการผสมเกสร มีบทบาทสำคัญในการติดผลและการเคลื่อนย้ายน้ำตาลมาสู่ผล หากพืชขาดจะส่งผลให้ลำต้นไม่ยืดตัว กิ่งและใบจึงชิดกัน ใบเล็ก หนา โค้งและเปราะ
  6. โมลิบดินัม ช่วยให้พืชใช้ไนโตรเจนให้เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน หากพืชขาดจะส่งผลให้มีอาการขาดไนโตรเจน ใบโค้ง และพบจุดเหลืองตามแผ่นใบ
  7. คลอรีน มีบทบาทเกี่ยวกับฮอร์โมนของพืช หากพืชขาดจะส่งผลให้ใบเหี่ยว สีซีด และบางส่วนแห้งตาย

 

“ การปลูกพืชให้ได้ผลผลิตที่สมบูรณ์ตามความต้องการ

จึงต้องทราบปริมาณแร่ธาตุอาหารในดิน (EC) ”

การวัดค่า pH ในดินช่วยให้ทราบว่าดินเหมาะสมกับการปลูก ?

ในขณะที่การวัดค่า EC ก็จะบอกปริมาณแร่ธาตุในดินเช่นเดียวกัน

 

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

 

Email Addresses

shop@hannathaicom

 

CONTACT US

Line : @hannathailand

FB : HannaThailand