การควบคุมการปล่อยน้ำทิ้ง | ด้วย pH Meter

“น้ำทิ้ง” หมายความว่า น้ำที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน น้ำจากการใช้น้ำของคนงานหรือน้ำจากกิจกรรมอื่นในโรงงาน ที่จะระบายออกจากโรงงาน หรือเขตประกอบการอุตสาหกรรม ในปัจจุบันอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีกระบนการผลิตเม็ดพลาสติกประเภทความหนาแน่นสูง มีระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงาน ก่อนปล่อยออกนอกโรงงาน โดยบริษัทฯ ต่าง ๆ มีนโยบายถือว่าข้อกำหนดของกฎหมายเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่ต้องปฏิบัตินั้น จึงต้องมีควบคุมค่าน้ำทิ้งในกระบวนการผลิต ซึ่งน้ำเสียโดยส่วนใหญ่จะมีผลกระทบหลัก ๆ ในเรื่อง pH ซึ่งปัญหาที่พบ คือ มีน้ำเสียที่มีค่า pH ไม่ได้ตามมาตรฐานจากบ่อบำบัดของหน่วยผลิต ถูกปล่อยออกไปสู่บ่อบำบัดรวมของโรงงานก่อนปล่อยลงสู่รางระบายสาธารณะ ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการบำบัดและมีความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากน้ำทิ้ง มาตรฐานนำทิ้ง ต้องมีคุณภาพ ตังต่อไปนี้ 1.ความเป็นกรดและด่าง (pH) ตั้งแต่ 5.5 ถึง 9.0 2.อุณหภูมิ (Temperature) ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส 3.สี (Color) ไม่เกิน 300 ADMI 4.ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved solids หรือ TDS) มีค่าดังนี้ – กรณีระบายลงแหล่งน้ำ…

How many pH should contain of good drinking water?

The body requires at least 2-3 liters of pure water every day for numerous bodily activities. The purity, colorlessness, and odor of water are used to assess whether it is safe to drink, but how can you know if the water you drink is safe? How much of one’s own body can be utilised to…

ระบบการบำบัดน้ำเสีย | ตามส่วนผสมหลักของน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระบบที่ลดปริมาณของเสียที่อยู่ในสภาพของเหลวให้น้อยลงหรืออยู่ในสภาพที่ไม่ก่อปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม การกำจัดสิ่งปนเปื้อนในน้ำที่เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมหรือเกิดจากกิจวัตรประจำวันของประชาชนที่อยู่อาศัยในชุมชนหรือแหล่งที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ให้หมดไป โดยน้ำเสียเป็นน้ำที่ผ่านการนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งน้ำเสียเหล่านี้ต้องได้รับการบำบัดก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งหลักการบำบัดน้ำเสียคือการกำจัดสิ่งปนเปื้อนเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งที่กำหนดไว้ เมื่อพูดถึงการบำบัดน้ำเสียพารามิเตอร์แรกที่เราควรคำนึงถึงคือค่า BOD ซึ่งเป็นน้ำเสียประเภทที่มีสารอินทรีย์สะสมอยู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เป็นต้น  เมื่อพบว่าค่า BOD ในน้ำสูง แสดงว่ามีสารอินทรีย์ปะปนอยู่มาก และบ่งชี้ถึงสภาพน้ำเน่าเหม็นมาก ดังนั้นจึงสามารถแบ่งประเภทน้ำเสียเป็น 5 ประเภท ดังนี้ น้ำเสียประเภทที่มีสารอินทรีย์ ซึ่งเกิดจากน้ำกินน้ำใช้ โดยหลักการพิจารณาค่า BOD (Biochemical Oxygen Demand) หมายถึงการวัดค่าความเน่าเสียจากน้ำที่ใช้อุปโภคบริโภค ค่า BOD จะแสดงให้เห็นถึงปริมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ กล่าวคือ ถ้าน้ำเสียมีค่า BOD ต่ำ จะสามารถทิ้งสู่สิ่งแวดล้อมได้เพราะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากพบค่า BOD สูง เมื่อถูกทิ้งสู่สิ่งแวดล้อมจะทำให้ปริมาณออกซิเจนในแหล่งน้ำนั้น ๆ ลดลงจนทำให้ปลาหรือสิ่งมีชีวิตอื่นไม่สามารถอยู่ได้และตายในที่สุด น้ำเสียประเภทที่มีสารเคมี โดยพิจารณาจากค่า COD (Chemical Oxygen Demand) หมายถึงค่าวัดความเน่าเสียของน้ำเสียที่เกิดจากสารเคมี โดยค่า…

Posted in Uncategorized

วิธีที่ควรทำมากที่สุด | ในการวัดค่า pH

ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีการใช้งานเครื่องวัด pH เราควรทราบถึงความหมายของค่าพีเอชในเบื้องต้นก่อน พีเอชหรือ pH คือการวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำหรือสารละลายอื่นๆ โดยช่วงอยู่ระหว่าง 0 ถึง 14 โดยที่ค่าพีเอช 7 เป็นกลาง และค่าพีเอช ที่น้อยกว่า 7 แสดงถึงความเป็นกรดในขณะที่พีเอช ที่มากกว่า 7 หมายถึงด่างหรือเบส การวัดค่าพีเอชเป็นการวัดปริมาณไฮโดรเจนอิสระและไฮดรอกซิลไอออนในน้ำ น้ำที่มีไฮโดรเจนไอออนอิสระมากกว่าจะเป็นกรดในขณะที่น้ำที่มีไฮดรอกซิลไอออนอิสระมากกว่านั้นเป็นด่าง นอกเหนือจากการวัดค่าพีเอชของน้ำหรือของเหลวแล้วเรายังสามารถวัดค่า pH ของก๊าซ และ ค่า pH ในของแข็งเช่นดิน ผิวหนัง และอาหารได้อีกด้วยโดยใช้เครื่องวัดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษดังรายละเอียดด้านล่าง วิธีที่ควรทำมากที่สุดใน“การวัดค่า pH” คือการใช้ pH meter เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของสารละลาย หลักการทำงาน พีเอชมิเตอร์ (pH meter) เป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิก มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ อิเล็กโทรด และเครื่องวัดศักย์ไฟฟ้า (volt meter) เครื่องวัดศักย์ไฟฟ้าจะเปลี่ยนค่าศักย์ไฟฟ้าที่วัดได้ให้เป็นค่า pH การปรับเทียบมาตรฐาน (calibration) ก่อนการใช้งาน จะต้องปรับเทียบมาตรฐาน…

The quality of water for cultivating.

Water is essential for aquatic organisms. Water is central to all aquatic organisms’ activities. Aquatic animals, in particular, live, live, eat, reproduce, and so on. Water for aquaculture considerations are divided into two categories: quality and quantity, both of which are closely related. That is, if the water is of high quality, the amount used…

บำบัดน้ำเสียและกากตะกอน (Wastewater Treatment and Sludge Disposal)

โดยปกติแล้วที่ความสูงประมาณสองหมื่นฟุตเหนือพื้นผิวโลกเป็นจุดที่โมเลกุลของน้ำเปลี่ยนสถานะจากไอน้ำเป็นหยดน้ำ และกลายเป็นฝนตกลงมาสู่พื้นโลก ทำให้มนุษย์เราสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้ ฝนที่เกิดขึ้นจะไหลผ่านพื้นที่รับน้ำบนภูเขาไหลลงสู่แม่น้ำ และมากักเก็บอยู่ที่แหล่งเก็บน้ำ หลังจากที่น้ำนั้นถูกใช้แล้วจะกลายเป็นน้ำเสียไหลลงสู่ท่อน้ำเสีย แหล่งน้ำตามธรรมชาติ หรือถูกส่งไปโรงบำบัดน้ำเสียนั่นเอง ความสำคัญของระบบบำบัดน้ำเสีย โรงบำบัดน้ำเสีย คือพื้นที่รวบรวมน้ำเสียจากทั่วทุกสารทิศ ไม่ว่าจะเป็นจาก“ครัวเรือน” แหล่งพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้า สถานที่ราชการ สถาบันต่างๆ ฯลฯ น้ำเสียเหล่านี้จำเป็นจะต้องผ่านกระบวนการบำบัดแบบต่างๆ เพื่อกำจัดสารปนเปื้อน และสิ่งแปลกปลอมออกจากน้ำ เพื่อให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้นสามารถนำไปใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ และไม่ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ ในส่วนของน้ำเสียที่ได้รับการบำบัดแล้วจะถูกส่งไปยังแหล่งน้ำสาธารณะ หรืออาจถูกส่งไปใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และทางด้านอื่นๆ ถึงแม้ว่าน้ำจะผ่านการใช้งานหลายต่อหลายครั้ง และสามารถทำความสะอาดตนเองตามวัฏจักรธรรมชาติได้ แต่กระบวนการนี้ก็มีขีดกำจัดของมันเอง ดังนั้นการบำบัดน้ำเสีย จึงเป็นกลไกที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะสามารถช่วยลดภาระการทำความสะอาดธรรมชาติด้วยตนเองของแหล่งน้ำธรรมชาติ และยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนในระบบผลิตน้ำประปาอีกด้วย การรวบรวมน้ำเสีย ระบบท่อระบายน้ำ หมายถึงการนำน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดหลายๆ แห่งไปรวมกันยังจุดที่จะบำบัดน้ำ โดยผ่านท่อระบายน้ำ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้ ระบบท่อร่วม (Combined System) เป็นระบบที่ใช้ท่อระบายน้ำฝนและน้ำเสียร่วมกัน โดยจะต้องสร้างท่อดักน้ำเสีย (Interceptor) เป็นระยะๆ เพื่อรวบรวมน้ำเสียให้ไหลไปตามท่อรวมไปยังบ่อบำบัดน้ำเสีย ส่วนน้ำฝนจะถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ระบบท่อแยก (Separated System)…

การบำบัดน้ำเสียสำหรับการอุปโภคบริโภคในชุมชน

การบำบัดน้ำเสียสำหรับการอุปโภคบริโภคในชุมชน แหล่งน้ำดื่มของสหรัฐอเมริกาจัดอยู่ในกลุ่มที่ปลอดภัยที่สุดในโลก แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงสามารถปนเปื้อนได้เช่นกัน ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของผู้ดื่ม หรืออาจจะเกิดโรคระบาดที่มาจากเชื้อโรคที่แฝงตัวอยู่ในแหล่งน้ำได้ เช่น Cryptosporidium, E.Coli, Hepatitis A, Giardia intestinalis ฯลฯ คุณภาพของน้ำดื่มเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราควรจะคำนึงถึง ดังนั้นน้ำดื่มที่เหมาะสมจะต้องกำจัดสารปนเปื้อนต่าง ๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดโรคก่อนเป็นอันดับแรก ในปัจจุบันขั้นตอนการบำบัดน้ำทั่วไปสามารถทำได้ดังนี้ (ส่วนมากจะเป็นการบำบัดน้ำบนผิวดิน) การแข็งตัวและการตกตะกอน การแข็งตัวและการตกตะกอนมักถูกใช้เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการบำบัดน้ำ โดยการเพิ่มสารเคมีที่มีประจุบวกลงในน้ำ ซึ่งสารเหล่านี้จะไปทำปฏิกิริยากับประจุลบของสิ่งปนเปื้อน และอนุภาคที่ละลายน้ำให้เป็นกลาง เมื่อปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นอนุภาคต่างๆ จะจับกับสารเคมีและก่อตัวเป็นอนุภาคที่ใหญ่ขึ้น เรียกกันว่ากระบวนการ Floc (Flocculation) การตกตะกอน ในระหว่างการเกิดกระบวนการตกตะกอน Floc จะตกตะกอนที่ด้านล่างเพราะเป็นสารประกอบที่หนักกว่า และการตกผลึกจะเป็นการกำจัดอิออน (ละลายน้ำ) ที่ไม่ต้องการในน้ำให้เปลี่ยนรูปเป็นผลึก (ไม่ละลายน้ำ) โดยการเติมสารเคมี เช่น การกำจัดความกระด้าง เป็นการกำจัดแคลเซียมและแมกนีเซียมออกจากน้ำ โดยการเติมปูนขาว และโซดาแอช หรือโซดาไฟ ให้ทำปฏิกิริยากันกลายเป็นผลึก CaCO3 และ Mg(OH)2 การกำจัดเหล็กและแมงกานีส เป็นการเปลี่ยนแปลงเหล็กและแมงกานีสที่สามารถละลายน้ำได้ง่ายเป็นรูปที่ไม่สามารถละลายน้ำ โดยการเติมออกซิเจน คลอรีน โปแตสเซียมเปอร์แมงกาเนต หรือโอโซน ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะเป็นปฏิกิริยาออกซิเดชันทำให้เกิดการตกผลึก…

ปริมาณออกซิเจนในน้ำ และเครื่องมือวิเคราะห์หาปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ

ออกซิเจนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิตเนื่องจากสิ่งมีชีวิตทั้งพืช และสัตว์ย่อมต้องการออกซิเจนเพื่อใช้ในการหายใจ และเจริญเติบโต โดยปัจจัยหลักขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดันบรรยากาศ และความเค็ม ซึ่งสัมพันธ์กันดังนี้ ออกซิเจนละลายในน้ำได้น้อยเมื่ออุณหภูมิสูง เช่นเดียวกับน้ำที่มีความเค็มสูงจะมีออกซิเจนละลายในน้ำได้น้อย แต่สำหรับความดันบรรยากาศเมื่อความดันบรรยากาศสูงจะส่งผลให้ออกซิเจนละลายในน้ำได้ดีอย่างเป็นนัย Dissolved Oxygen หรือที่รู้จักกันว่า DO คือปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำทั้งหมด โดยปกติแหล่งของออกซิเจนเหล่านี้ได้มาจากบรรยากาศ การสังเคราะห์แสงของพืชที่อาศัยอยู่ในน้ำ หรือจากขบวนการเคมีอื่นๆ ในน้ำโดยแหล่งน้ำบางแหล่งมีแร่ธาตุทำปฏิกิริยากันทำให้เกิดออกซิเจนละลายในน้ำ แหล่งน้ำตามธรรมชาติจะพบค่า DO อยู่ที่ประมาณ 5-7 มิลลิกรัมต่อลิตร (mg/L) โดยค่าน้ำที่ดีจะต้องพบค่า DO อยู่ที่ 5-8 mg/L ส่วนน้ำเสียจะพบค่า DO อยู่ที่ 3 mg/L หรือต่ำกว่า จากข้างต้นจะเห็นว่าปริมาณออกซิเจนในน้ำมีความสำคัญโดยตรงต่อสัตว์น้ำมาก เช่น ปลา ซึ่งมีความสัมพันธ์กันดังนี้ ปริมาณค่าดีโอ (DO) mg/L สภาพความเป็นอยู่ของปลา ต่ำกว่า 4 mg/L ปลาตายหมด ต่ำกว่า 4 -6 mg/L มีเพียงปลาจำนวนน้อยมากๆ ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ต่ำกว่า…

Measuring pH in Fruits and Vegetables with Sensor Probe.

Fruit and vegetable consumption is an important factor that promotes growth. Furthermore, age-related development reduces the risk of chronic noncommunicable diseases such as cardiovascular disease, high blood pressure, diabetes, and dementia. aging disease The destruction of cellular tissues in the body is caused by the degeneration of various organs, including cancer, which is caused by…