การบำบัดน้ำเสียสำหรับการอุปโภคบริโภคในชุมชน

การบำบัดน้ำเสียสำหรับการอุปโภคบริโภคในชุมชน
แหล่งน้ำดื่มของสหรัฐอเมริกาจัดอยู่ในกลุ่มที่ปลอดภัยที่สุดในโลก แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงสามารถปนเปื้อนได้เช่นกัน ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของผู้ดื่ม หรืออาจจะเกิดโรคระบาดที่มาจากเชื้อโรคที่แฝงตัวอยู่ในแหล่งน้ำได้ เช่น Cryptosporidium, E.Coli, Hepatitis A, Giardia intestinalis ฯลฯ

คุณภาพของน้ำดื่มเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราควรจะคำนึงถึง ดังนั้นน้ำดื่มที่เหมาะสมจะต้องกำจัดสารปนเปื้อนต่าง ๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดโรคก่อนเป็นอันดับแรก ในปัจจุบันขั้นตอนการบำบัดน้ำทั่วไปสามารถทำได้ดังนี้ (ส่วนมากจะเป็นการบำบัดน้ำบนผิวดิน)

  • การแข็งตัวและการตกตะกอน

การแข็งตัวและการตกตะกอนมักถูกใช้เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการบำบัดน้ำ โดยการเพิ่มสารเคมีที่มีประจุบวกลงในน้ำ ซึ่งสารเหล่านี้จะไปทำปฏิกิริยากับประจุลบของสิ่งปนเปื้อน และอนุภาคที่ละลายน้ำให้เป็นกลาง เมื่อปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นอนุภาคต่างๆ จะจับกับสารเคมีและก่อตัวเป็นอนุภาคที่ใหญ่ขึ้น เรียกกันว่ากระบวนการ Floc (Flocculation)

  • การตกตะกอน

ในระหว่างการเกิดกระบวนการตกตะกอน Floc จะตกตะกอนที่ด้านล่างเพราะเป็นสารประกอบที่หนักกว่า และการตกผลึกจะเป็นการกำจัดอิออน (ละลายน้ำ) ที่ไม่ต้องการในน้ำให้เปลี่ยนรูปเป็นผลึก (ไม่ละลายน้ำ) โดยการเติมสารเคมี เช่น การกำจัดความกระด้าง เป็นการกำจัดแคลเซียมและแมกนีเซียมออกจากน้ำ โดยการเติมปูนขาว และโซดาแอช หรือโซดาไฟ ให้ทำปฏิกิริยากันกลายเป็นผลึก CaCO3 และ Mg(OH)2 การกำจัดเหล็กและแมงกานีส เป็นการเปลี่ยนแปลงเหล็กและแมงกานีสที่สามารถละลายน้ำได้ง่ายเป็นรูปที่ไม่สามารถละลายน้ำ โดยการเติมออกซิเจน คลอรีน โปแตสเซียมเปอร์แมงกาเนต หรือโอโซน ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะเป็นปฏิกิริยาออกซิเดชันทำให้เกิดการตกผลึก เป็นต้น

  • การกรอง

เมื่อตะกอนต่างๆ ตกลงไปที่ด้านล่างเรียบร้อยแล้ว ส่วนน้ำใสด้านบนจะนำไปผ่านตัวกรองที่มีองค์ประกอบต่างกัน (ทราย กรวด และถ่าน) และขนาดของรูต่างๆ เพื่อกำจัดอนุภาคที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ เช่น ฝุ่น ปรสิต แบคทีเรีย ไวรัส และสารเคมีต่างๆ

  • การฆ่าเชื้อ

น้ำที่ผ่านกระบวนการกรองเรียบร้อยแล้ว การฆ่าเชื้อโรคจึงเป็นกระบวนการสุดท้ายของการผลิตน้ำที่สำคัญมาก โดยทั่วไปนิยมเติมสารเคมี เช่น คลอรีน สารประกอบคลอรีน (โซเดียมไฮโปคลอไรต์ แคลเซียมไฮโปคลอไรต์) คลอรีนไดออกไซด์ โอโซน โปแตสเซียมเปอร์แมงกาเนต หรือยูวี เพื่อฆ่าเชื้อปรสิต แบคทีเรีย และไวรัส ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ เพื่อป้องกันน้ำจากเชื้อโรคในระหว่างการส่งน้ำไปยังบ้านเรือน และอื่นๆ

การเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการฆ่าเชื้อในน้ำด้วยคลอรีน และคลอรามีน

แหล่งน้ำในแต่ละชุมชนจะได้รับการบำบัดน้ำที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำของแหล่งนั้นๆ โดยปกติแล้วน้ำผิวดินจะต้องได้รับการบำบัดมากกว่าน้ำบาดาล เนื่องจากแหล่งน้ำจากทะเลสาบ แม่น้ำ และลำธาร จะพบปริมาณของตะกอน และสารพิษมากกว่า รวมถึงมีแนวโน้มที่จะพบการปนเปื้อนมากกว่าน้ำบาดาลอีกด้วย
แหล่งน้ำบางแห่งเมื่อผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแล้วอาจจะทำให้ได้ผลผลิตอื่นๆ มาด้วย เช่น สารเคมีอนินทรีย์ สารเคมีอินทรีย์ และนิวไคลด์กัมมันตภาพรังสี ซึ่งวิธีการบำบัด และกำจัดสารเหล่านี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบำบัดน้ำเสีย

คลอรีนถือว่าเป็นสารที่มีความปลอดภัยสูง เพราะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำให้น้ำใสสะอาดปลอดเชื้อ และสามารถสลายตัวได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ต้องใส่ในปริมาณที่เหมาะสม หากใช้ในปริมาณที่มากความจำเป็นอาจส่งผลอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ เช่น ตา จมูก และผิวหนัง ถ้าสูดดมเข้าไปจะทำให้เกิดอาการอึดอัด หายใจไม่สะดวก เจ็บคอ แน่นหน้าอก หรือเสี่ยงต่อการทำให้เสียชีวิตได้

คลอรามีนจัดเป็นสารบริสุทธิ์ มีความเสถียรมาก ไม่กระจายตัวเร็วเท่าคลอรีนอิสระ และสลายตัวอย่างรุนแรงที่อุณหภูมิสูงกว่า -40 ˚C จึงนิยมใช้เป็นยาฆ่าเชื้อในน้ำ โดยปกติเมื่อละลายน้ำจะมีค่า pH เป็นกลาง ทำหน้าที่เป็นตัวออกซิไดซ์

การบำบัดน้ำในครัวเรือน

น้ำเสีย คือน้ำที่คนใช้แล้ว และต้องการจะระบายทิ้งไป เช่น น้ำอาบ น้ำหล่อเย็น น้ำล้างในครัวเรือน ตลอดจนน้ำล้างปฏิกูลจากส้วม แต่เดิมมีข้อกำหนดระบุให้ระบายน้ำปฏิกูลลงบ่อเกรอะ-บ่อซึม โดยหมายจะระบายปฏิกูลซึมลงในดิน ส่วนน้ำเสียส่วนอื่นๆ ให้ระบายลงรางระบายน้ำสาธารณะ

เมื่อชุมชนที่อยู่อาศัยในเมืองมีจำนวนประชากรมากขึ้น สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ คือ แหล่งน้ำและดิน ซึ่งถูกใช้เป็นแหล่งกำจัดน้ำเสียมาโดยตลอด จึงต้องรับภาระหนักจนเกินกำลัง และเสียสมดุลตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการเน่าเหม็นผิดสุขลักษณะ

            ระบบบำบัดน้ำในครัวเรือนมีอยู่  2 ประเภท ได้แก่ จุดที่ใช้งาน และจุดเข้าออกภายนอก (NSF) โดยระบบจะถูกติดตั้งอยู่หลังมาตรวัดน้ำ และการบำบัดน้ำส่วนใหญ่จะเข้าสู่ที่อยู่อาศัย อีกส่วนระบบจุดใช้งานจะเข้าสู่จุดจัดส่งน้ำไปยังก๊อก เช่น อ่างล้างจาน อ่างล้างทั่วไปหน้าห้องน้ำ หรือก๊อกน้ำเสริมบริเวณต่างๆ โดยระบบบำบัดน้ำในครัวเรือนส่วนใหญ่จะประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

  • ระบบการกรอง : ใช้อุปกรณ์เครื่องกรองน้ำเป็นตัวกำจัดสิ่งเจือปนออกจากน้ำเสีย โดยกระบวนการทางกายภาพ เคมี หรือชีวภาพ
  • การทำน้ำอ่อน : เป็นขั้นตอนที่จะช่วยลดความกระด้างของน้ำ ซึ่งความกระด้างเกิดจากสารจำพวกแคลเซียมและแมกนีเซียมที่ปะปนอยู่ในน้ำ โดยน้ำที่มีความกระด้างสูงนั้นจะส่งผลให้เกิดหินปูนหรือตะกรัน การทำน้ำอ่อนมักจะใช้โซเดียม หรือโพแทสเซียมไอออนเพื่อเข้าแทนที่แคลเซียม และแมกนีเซียมไอออน ทำให้เกิดน้ำอ่อน และเราสามารถสังเกตได้จากเวลาเราล้างด้วยสบู่ หากมีความกระด้างสูงจะทำให้เกิดฟองน้อยสามารถล้างออกได้ง่าย
  • ระบบกลั่น : การกลั่นเป็นกระบวนการต้มน้ำที่ไม่บริสุทธิ์ และกักเก็บไอน้ำที่ควบแน่นในภาชนะที่อุณหภูมิต่ำออกจากกัน โดยกระบวนการนี้จะทิ้งสารปนเปื้อนที่เป็นของแข็งจำนวนมากไว้

การฆ่าเชื้อ : การฆ่าเชื้อเป็นกระบวนการทางกายภาพ หรือเคมีที่ช่วยฆ่าจุลินทรีย์ชนิดที่ก่อให้เกิดโรคในน้ำ ยกตัวอย่างสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อ ได้แก่ คลอรีน คลอรีนไดออกไซด์ และโอโซน ส่วนตัวอย่างของสารฆ่าเชื้อทางกายภาพ ได้แก่ แสงอัลตร้าไวโอเลต รังสีอิเล็กทรอนิกส์ และความร้อน เป็นต้น

 

pH Meter คือเครื่องมือที่ให้ความละเอียดและถูกต้องแม่นยำสูง

เครื่อง pH meter มีหลายแบบ เช่น แบบปากกา แบบมือถือ แบบตั้งโต๊ะ หรือแบบติดตั้ง ซึ่งการวัดค่า pH โดยใช้เครื่อง pH Meter นั้นจะเหมาะกับการใช้ในงานอุตสาหกรรมมากที่สุด หากมีการเลือกเครื่องมือวัดให้ตรงกับประเภทของการใช้งาน

 

เครื่องวัด pH Meter จาก ฮานนา

 

 

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

 

Email Addresses

info@hannathaicom

 

CONTACT US

Line : @hannathailand

FB : HannaThailand