คลอรีน (Chlorine) คืออะไรและมีความสำคัญกับระบบน้ำอย่างไร

คลอรีน (Chlorine) คืออะไรและมีความสำคัญกับระบบน้ำอย่างไร

ทุกคนรู้หรือไม่ว่า คลอรีน (Chlorine) เป็นสารชนิดหนึ่งที่อยู่คู่ชีวิตประจำวันกับเรามากที่สุด คงสงสัยกันละสิว่าคลอรีนนั้นอยู่ที่ไหนและเราเจอกับสารคลอรีนมากน้อยเพียงใดสำหรับในชีวิตประจำวัน หากจะนึกง่ายๆ อยากให้ทุกคนลองไปดูที่น้ำดื่มหรือสระว่ายน้ำ ระบบน้ำเหล่านี้จำเป็นต้องใช้คลอรีนในการกำจัดเชื้อโรค และมักนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์ รวมถึงใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของน้ำเป็นหลัก ดังนั้นในบทความนี้เราจึงอยากให้ทุกคนเข้าใจเกี่ยวกับสารคลอรีนมากยิ่งขึ้น มาดูกันเลย

คลอรีน (Chlorine) คืออะไร
คลอรีน คือสารเคมีที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้งานด้านอุตสาหกรรม ด้านเกษตรกรรม หรือด้านสาธารณสุข แต่ที่หลายคนคุ้นเคยกันก็คงจะเป็นการนำไปใช้งานเพื่อเป็นสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในกระบวนการผลิตน้ำทั่วไปหรือน้ำดื่มนั่นเอง นิยมใช้ในระบบบำบัดน้ำในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ฟาร์มเลี้ยงปศุสัตว์ ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น โดยส่วนใหญ่คลอรีนจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
1. คลอรีนอิสระ (Free Chlorine) : ปริมาณคลอรีนที่ยังไม่รวมตัวกับน้ำเพื่อฆ่าเชื้อโรคหรือสิ่งปนเปื้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. คลอรีนรวม (Combined Chlorine) : คลอรีนอีกชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในขณะที่สระว่ายน้ำได้รับการฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว ในระหว่างกระบวนการนี้คลอรีนจะเกิดการจับกับสารปนเปื้อนอื่นๆ ในน้ำ
3. คลอรีนทั้งหมด (Total Chlorine) : ผลรวมของคลอรีนรวมและคลอรีนอิสระในน้ำสะอาดสามารถใช้ประมาณคลอรีนทั้งหมดเพื่อกำหนดปริมาณคลอรีนอิสระในน้ำได้เนื่องจากคลอรีนรวมควรจะเป็นศูนย์

(อ่าน ข้อแตกต่าง | คลอรีนอิสระ VS คลอรีนรวม คลิ๊ก)

รูปแบบการใช้งานของคลอรีน (Chlorine)
โดยหลักๆแล้วคลอรีนเป็นสารที่สามารถนำเอาไปใช้ได้อย่างหลากหลาย และมีอยู่หลายรูปแบบในการเลือกใช้ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมนั้นๆ โดยจะแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้
1. คลอรีนชนิดก๊าซ (Chlorine Gas)
เป็นประเภทของคลอรีนที่ทำให้เกิดความระคายเคืองจมูกได้ง่าย อาจทำให้หายใจไม่ออก มักถูกนำไปใช้ในการผลิตเป็นสารฟอกขาวในการผลิตกระดาษ ผ้ากระสอบ ใช้เป็นสารป้องกันการเย็นตัว รวมถึงใช้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่มหรือในระบบผลิตน้ำประปาด้วยเช่นกัน
2.คลอรีนชนิดน้ำ (Chlorine Liquid)
เป็นคลอรีนที่นิยมใช้กันมากสำหรับการฆ่าเชื้อโรค เช่น สระว่ายน้ำ ผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้คือ โซเดียมไฮโปคลอไรต์ (NaClO) เป็นสารละลายสีเขียวอมเหลืองมีความเข้มข้นของคลอรีนประมาณ 7-15 %
3.คลอรีนรูปแบบของแข็ง
คลอรีนในลักษณะผง เช่น แคลเซียมไฮโปคลอไรต์ โซเดียมไดคลอโรไอโซไซยานูเรต (NaDCC หรือ SDIC) และไตรคลอโรไอโซไซยานูริก แอซิด (TCCA)

ประโยชน์ของคลอรีน (Chlorine)

 

ประโยชน์ของคลอรีน (Chlorine)
ทั้งนี้ประโยชน์ของคลอรีนนั้นค่อนข้างมีมากมายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของอุตสาหกรรมนั้นๆ ว่าต้องการใช้เพื่อทำอะไร โดยเราจะยกตัวอย่างง่ายๆ ที่จะทำให้ทุกคนเห็นภาพกัน ดังนี้

– อุตสาหกรรมผลิตกระดาษ ทำยาฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ทำสีผสมอาหาร ยาฆ่าแมลง สี ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม พลาสติก เวชภัณฑ์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ
– ทางเคมีอินทรีย์ ใช้ในปฏิกิริยาออกซิเดชันและปฏิกิริยาการแทนที่ เมื่อเข้าไปแทนที่ไฮโดรเจนจะได้ผลิตภัณฑ์ยางสังเคราะห์
– การผลิตคลอเรต เช่น คลอโรฟอร์ม คาร์บอน เตตระคลอไรด์ และใช้ในการสกัดโบรมีน
การเลี้ยงปลาสวยงาม
อุตสาหกรรมบำบัดน้ำเสีย

แม้ว่าคลอรีนนั้นจะเป็นสารที่มีประสิทธิภาพสูงเป็นอย่างมากและสามารถใช้ได้อย่างหลากหลาย แต่หากใช้ในปริมาณที่มากเกินอัตราส่วนที่กำหนด ก็จะส่งผลอันตรายต่ออวัยวะของร่างกายได้ เช่น ตา จมูก ผิวหนัง และเมื่อสัมผัสกับคลอรีนโดยตรงจะเกิดการอักเสบและบวมพอง ถ้าสูดดมเข้าไปจะทำให้เกิดอาการอึดอัด หายใจไม่สะดวก เจ็บคอ แน่นหน้าอก และหากได้รับในปริมาณมากเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ทันที เพราะฉะนั้นทางที่ดีควรที่จะมีเครื่องมือในการวัดค่าคลอรีนเพื่อประเมินความเข้มข้นของคลอรีนให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่ีจะช่วยเราควบคุมปริมาณการใช้งานเพื่อลดต้นทุนอีกด้วย

ทั้งนี้หากกำลังมองหาเครื่องมือดีๆ อยู่ สามารถคลิ๊กเข้ามาดูได้เลย > เครื่องมือเกี่ยวกับคลอรีน

 

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ
“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”
WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

CONTACT US
Line : @hannathailand
FB : HannaThailand
Email Addresses : [email protected]