ทำไมค่า EC | ถึงสำคัญต่อการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

“ไฮโดรโปนิกส์ (hydroponics)” เป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแต่ใช้น้ำที่มีธาตุอาหารพืชละลายอยู่หรือการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืชทดแทน ซึ่งนับเป็นวิธีการใหม่ในการปลูกพืช ในปัจจุบันได้รับความนิยมมากเนื่องจากขั้นตอนการปลูกง่าย ประหยัดพื้นที่ในการปลูก แถมยังไม่ต้องคอยดูแลพรวนดินให้เหนื่อยแรงอีกด้วย

ไฮโดรโปนิกส์ (hydroponics) มาจากภาษากรีกคือ Hydro แปลว่าน้ำ และ Ponos แปลว่าทำงานหรือแรงงาน เมื่อมารวมกันจึงหมายถึงการทำงานของน้ำ ประวัติความเป็นมาของการปลูกพืชโดยวิธีนี้เริ่มมาจากการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ธาตุอาหารต่างๆ ในการปลูกพืช เมื่อหลายพันปีผ่านมานักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้พยายามทดลองเพื่อหาคำตอบว่าอนุภาคที่อยู่ในดินมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างไร หลังจากนั้นจึงได้มีการพัฒนาปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ตามหลักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ โดยใช้สารละลายเกลือ อนินทรีย์ต่างๆ เช่น โพแทสเซียมฟอสเฟต โพแทสเซียมไนเตรต ซึ่งให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน แคลเซียม และเหล็ก ฯลฯ

 

“โดยปกติพืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีนั้นต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น แสงแดด อุณหภูมิ น้ำ และธาตุอาหารพืช การที่พืชจะนำธาตุอาหารพืชไปใช้ประโยชน์ได้นั้นก็ต้องคำนึงถึงเรื่องความเป็นกรด-ด่าง (pH) และสารละลายธาตุอาหาร (EC) ที่ใช้ในการปลูกพืช”

 

ข้อดีของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
1. สามารถปลูกในพื้นที่ขนาดเล็กและสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมกับการปลูกได้
2. สามารถให้ผลผลิตได้อย่างสม่ำเสมอ
3. ไม่ต้องใส่ใจดูแลมากเมื่อเทียบกับการปลูกพืชด้วยดิน
4. สามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตได้ เช่น ปริมาณธาตุอาหาร / pH
5. ถึงแม้จะใช้ต้นทุนสูงก็คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับการประหยัดเวลาและแรงงาน

ข้อคำนึงสำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
– อายุการเก็บเกี่ยว เลือกผักที่ปลูกง่าย สามารถเก็บเกี่ยวได้หลายรอบ และใช้ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวสั้น เนื่องจากต้นทุนในการปลูกสูงมาก
– ราคาผลผลิต เลือกผักที่ให้ราคาสูง ขายได้ทุกฤดูกาล เนื่องจากต้นทุนในการทำค่อนข้างสูง จึงทำให้ต้องคัดเลือกผักที่นิยม และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ในตอนนี้ได้มีการริเริ่มปลูกผักที่มีขายอยู่ในท้องตลาดมากขึ้น เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกาดเขียว ด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ และนำออกสู่ตลาดด้วยคำจำกัดความว่าผักปลอดสารพิษ
– ฤดูกาลปลูก ช่วงฤดูฝนมักจะมีการออกสู่ตลาดน้อย แต่สำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์สามารถให้ผลผลิตได้ทุกฤดูกาล

การควบคุม EC ของสารละลายธาตุอาหารพืช
ส่วนใหญ่พืชที่กำลังเติบโตจะพบค่า EC ที่ต่ำ และจะเพิ่มขึ้นเมื่อพืชเจริญเติบโตมากขึ้น รวมถึงพืชแต่ละชนิดก็มีความต้องการค่า EC แตกต่างกัน

 

พืช

ค่า EC

ผักสลัด

0.5 – 2.0 mS/cm

แตงกวา

1.5 – 2.0 mS/cm

ผักและไม้ดอก

1.8 – 2.0 mS/cm

มะเขือเทศ

2.5 – 3.5 mS/cm

แคนตาลูป

4.0 – 6.0 mS/cm

 

“ค่า EC ที่สูงจะทำให้ปริมาณน้ำตาลในผลสูง เนื่องจากทำให้พืชเกิดความเครียด ดังนั้นควรควบคุมค่า EC ให้เหมาะสม”

 

 

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

 

Email Addresses

info@hannathaicom

 

CONTACT US

Line : @hannathailand

FB : HannaThailand