คุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งและปลา | Multiparameter Photometer

การควบคุมคุณภาพน้ำสำหรับฟาร์มกุ้งและปลา
คุณภาพน้ำมีความสำคัญเป็นอับดับแรกสำหรับการเลี้ยงกุ้งและปลา ถ้าคุณภาพน้ำไม่ดีก็จะทำให้สัตว์น้ำได้รับผลกระทบต่อสภาพร่างกาย การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ อัตราการอยู่รอดลดลง และเกิดความเครียดทางชีววิทยา ดังนั้นการเข้าใจถึงคุณภาพน้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อสิ่งแวดล้อมของน้ำสำหรับสัตว์น้ำ และเพื่อให้กุ้งและปลาสามารถดำรงชีวิตได้ดี

กล่าวได้ว่า “คุณสมบัติของน้ำ” หมายถึงคุณสมบัติทางฟิลิกส์และเคมี ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน รวมถึงมีความสำคัญต่อการเพาะเลี้ยงกุ้งและปลาด้วย โดยมีผลต่อการเจริญเติบโตช้าหรือเร็ว การตาย การเกิดโรคระบาด ตลอดจนมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต เป็นต้น คุณสมบัติทางกายภาพของน้ำมีมากมายแต่ถ้าจะพูดถึงที่มีต่อการเพาะเลี้ยงก็มีไม่มากนักแต่อย่างไรก็ตามสามารถที่จะควบคุมตามที่ต้องการได้

คุณสมบัติของน้ำที่มีผลต่อการเลี้ยงกุ้งและปลา
1. ความเป็นกรด-ด่าง หมายถึงการวัดความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนและไฮดรอกไซด์ที่มีอยู่ในน้ำเพื่อแสดงให้ทราบว่าคุณภาพของน้ำอยู่ในสภาวะกรดหรือด่าง โดยตามธรรมชาติจะขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อมบริเวณรอบ เช่น ลักษณะของพื้นดินและหิน ตลอดจนการใช้ที่ดินบริเวณนั้น รวมถึงอิทธิพลจากสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ เช่น แพลงก์ตอนและจุลินทรีย์ การที่พืชจะได้รับธาตุอาหารได้ดีหรือไม่ดีนั้นจะขึ้นอยู่กับค่ากรด-ด่าง หากพบว่าค่า pH ต่ำกว่า 4.5 พืชน้ำจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ เช่นเดียวกันกับหากค่า pH สูงหรือต่ำเกินมาตรฐานก็จะทำให้สัตว์น้ำไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ โดยกำหนดได้ ดังนี้

ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)

ผลที่ตามมา

4.0 หรือต่ำกว่า

อันตรายส่งผลให้สัตว์น้ำตายได้

4.0 – 6.0

สัตว์น้ำบางชนิดตายได้ หรือเกิดการเจริญเติบโตช้า

6.5 – 9.0

เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

9.0 – 11.0

ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตหากอาศัยอยู่นาน

11.0 หรือสูงกว่า

ความเป็นพิษต่อสัตว์น้ำ

2. ความกระด้างของน้ำ หมายถึง ปริมาณของเกลือ แคลเซียมและแมกนีเซียมที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ความกระด้างชั่วคราวเกิดจากสารประกอบแคลเซียมไบคาร์บอเนตหรือแมกนีเซียมไบคาร์บอเนต เมื่อถูกความร้อนจะตกตะกอนกลายเป็นหินปูน และความกระด้างถาวร เกิดจากสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนตหรือแมกนีเซียมคาร์บอเนต ดังนั้นจึงวิเคราะห์เป็นความกระด้างรวม โดยรายงานค่าในหน่วยแคลเซียมคาร์บอเนต แหล่งน้ำแต่ละแหล่งจะพบค่าความกระด้างไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม โดยสามารถแบ่งระดับความกระด้างได้ ดังนี้

ความกระด้างของน้ำ (CaCO3)

ผลที่ตามมา

0 – 75 mg/L

น้ำอ่อน

75 – 150 mg/L

กระด้างปานกลาง

150 – 300 mg/L

น้ำกระด้าง

300 mg/L ขึ้นไป

น้ำกระด้างมาก

3. ความเป็นด่าง หมายถึงคุณสมบัติของน้ำที่ทำให้กรดเป็นกลาง ซึ่งความเป็นด่างของน้ำประกอบด้วย คาร์บอเนต ไบคาร์บอเนต ไฮดรอกไซด์ เป็นส่วนมากแต่อาจจะพบพวก บอเรต ซิลิเคต ฟอสเฟต และสารอินทรีย์ต่างๆ อยู่บ้าง โดยมีผลต่อค่ากรด-ด่าง และค่าความกระด้าง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่ากรด-ด่าง อย่างรวดเร็ว แต่ละแหล่งน้ำจะพบค่าความเป็นด่างที่แตกต่างกันมีค่าตั้งแต่ 25-500 mg/L สำหรับแหล่งน้ำเสียชุมชนและจากโรงงานอุตสาหกรรมอาจจะมีค่าสูง เกณฑ์มาตรฐานที่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควรควบคุมให้อยู่ในช่วง 100-120 mg/L โดยสามารถปรับให้ค่าความเป็นด่างสูงขึ้นด้วยการใส่ปูนขาวลงไป แต่หากต้องการลดอาจจะทำได้ยากและไม่นิยมทำกัน

4. ความเค็ม หมายถึงปริมาณของแข็งหรือเกลือแร่ต่างๆ ที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยรายงานค่าในหน่วย ppt ซึ่งมีความสัมพันธ์กับคลอไรด์ โบรไมด์และไอโอไดด์ รวมถึงค่าความนำไฟฟ้าด้วย โดยสามารถกำหนดได้ ดังนี้

ประเภทของน้ำ

ความเค็ม (ppt)

น้ำจืด

0 – 0.5 ppt

น้ำกร่อย

0.5 -30 ppt

น้ำเค็ม

>30 ppt

5. สารพิษ แหล่งน้ำตามธรรมชาติจะมีการปนเปื้อนของสารเคมีชนิดต่างๆ  ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำอย่างมากโดยเกิดจากการปล่อยน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และที่อยู่อาศัยบ้านเรือน หากเราจะนำน้ำมาเพาะเลี้ยงสัตว์จึงมีความจำเป็นจะต้องทำการตรวจสอบปริมาณสารพิษที่ตกค้างอยู่ในน้ำเสียก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อสัตว์น้ำ ยกตัวอย่างเช่นจากโรงงานอุตสาหกรรมจะพบปรอท แคดเมียม ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี และโครเมียม เป็นต้น และสารเคมีจากเกษตร เช่น สารกำจัดศัตรูพืช สารเคมีกำจัดเชื้อรา เป็นต้น สารเคมีเหล่านี้มีอยู่มากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์น้ำ และสามารถคงอยู่ในร่างกายได้นาน ทำให้ส่งผลระยะยาวต่อผู้บริโภคอีกทอดหนึ่ง

6. ความขุ่น ปริมาณสารแขวนลอยทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าในแหล่งน้ำนั้นมีสารแขวนลอยมากน้อยเพียงใด เช่น พวกสารอินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก แพลงก์ตอน อนุภาคดิน ทราย และอื่นๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการขัดขวางแสงอาทิตย์ลงไปให้ในน้ำ เนื่องจากพืชจะต้องเจริญเติบโตโดยการสังเคราะห์แสง ดังนั้นหากไม่ได้รับแสงที่เหมาะสมจะทำให้เกิดการตาย ส่งผลกระทบให้น้ำเน่าเสีย

7. อุณหภูมิ เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ จึงจำเป็น ต้องทำการตรวจสอบเพื่อหาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นระยะทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติและบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยปกติอุณหภูมิของน้ำตามธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงตามภูมิอากาศ ฤดูกาล ระดับความสูง และสภาพภูมิประเทศ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไปของแหล่งน้ำอีกด้วย ในทางทฤษฎีของ Van Hoff’s law กล่าวว่าอัตราเมตาบอลิซึมของสัตว์จะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 10 องศาเซลเซียส เช่น การหายใจ การว่ายน้ำ การกิน การย่อยอาหาร การขับถ่าย และการเต้นของหัวใจ เป็นต้น

8. ออกซิเจน เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำเนื่องจากสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ย่อมต้องการออกซิเจนเพื่อการหายใจและเจริญเติบโต ออกซิเจนในน้ำขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น อุณหภูมิ ความดัน และความเค็ม โดยแหล่งของออกซิเจนมาจากชั้นบรรยากาศ กระบวนการสังเคราะห์แสง ขบวนการทางเคมี การหายใจของสัตว์และพืช การเน่าเสียของอินทรีย์วัตถุ เช่น แบคทีเรีย เป็นต้น

 

“หากเรารู้จักควบคุมคุณภาพน้ำให้ดีก็จะส่งผลให้
กุ้งและปลาที่เราเพาะเลี้ยงเจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน”

 

สิ่งที่ควรรู้ ! คุณภาพของน้ำเลี้ยงกุ้งและปลาต้องวิเคราะห์อะไรบ้าง ?

ความเป็นกรด-ด่าง

ความเค็ม ความกระด้างของน้ำ

ความขุ่น

อัลคาลินิตี้

แอมโมเนีย แคลเซียม

คลอรีนอิสระ

คลอรีนรวม

ทองแดง ไนเตรต

ไนไตรท์

ฟอสเฟต

ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์

อุณหภูมิ

 

เครื่องมือที่จะช่วยทำให้การวัดคุณภาพน้ำเป็นเรื่องง่าย ประสิทธิภาพการวัดค่าถูกต้องแม่นยำมาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานแบบครบครัน สามารถพกพาไปใช้งานแบบภาคสนามได้ โดยตัวเครื่องเดียวสามารถวิเคราะห์คุณภาพน้ำได้หลากหลายพารามิเตอร์ของฮานนา รุ่น “HI83303” ตอบโจทย์การใช้งานแบบเฉพาะเจาะจงกับการควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อกุ้งและปลา

 

(คลิกเพื่อดูสินเค้าเพิ่มเติม)

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

Email Addresses
info@hannathaicom

CONTACT US
Line : @hannathailand
FB : HannaThailand