เทคนิคไทเทรตโดยใช้ตัวตรวจวัดแสง | Hanna Instruments

            เทคนิคการไทเทรตคือวิธีการทางปริมาณวิเคราะห์ เป็นการวิเคราะห์หาความเข้มข้นของสารละลายที่ยังไม่ทราบความเข้มข้นแต่ทราบปริมาตรจากสารละลายมาตรฐานที่ทราบความเข้มข้นแน่นอน โดยใช้การเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์เป็นเกณฑ์ในการบอกจุดยุติ เพื่อนำมาคำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายตัวอย่าง

            เมื่อโลกได้มีเทคโนโลยีเข้ามาจึงเกิดการพัฒนาเพื่อทำให้การทำงานง่ายขึ้นและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น จึงส่งผลให้มีการพัฒนาเครื่องมือที่จะช่วยลดความผิดพลาดในการทำงาน รวมถึงให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูง นั่นคือ“เครื่องไทเทรต”แบบอัตโนมัติ ในสมัยก่อนการไทเทรตจะทำโดยการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการไทเทรต อาทิเช่น บิวเรต ขวดรูปชมพู่ อินดิเคเตอร์ และสารเคมีต่างๆ มากมาย โดยไทเทรตระหว่างสารตัวอย่างกับสารไตแตรนท์ จากนั้นเติมอินดิเคเตอร์เพื่อใช้ในการบอกจุดยุติของการไทเทรตแล้วนำมาคำนวณหาความเข้มข้นของสารตัวอย่าง ซึ่งกว่าเราจะได้ผลการวัดก็ใช้ระยะเวลาพอสมควรและผลการทดสอบที่เราได้ก็อาจจะไม่ได้ถูกต้องแม่นยำมากนัก เนื่องจากเป็นการสังเกตจุดยุติด้วยตาของผู้ทดลอง จึงได้มีการพัฒนาเครื่องไทเทรตแบบอัตโนมัติขึ้นมาโดยอาศัยหลักการโพเทนชิโอเมตริกหรือวัดค่าศักย์ไฟฟ้าแทนการใช้อินดิเคเตอร์นั่นเอง และในปัจจุบันได้ พัฒนาการไทเทรตแบบอัตโนมัติโดยอาศัยการตรวจวัดแสง ขึ้นมา

ทราบหรือไม่ว่า ? ทุกวันนี้พบว่าในโรงงานอุตสาหกรรมพบเจอปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับความล่าช้าและเสียเวลาในการทำงาน ซึ่งต้องอาศัยทั้งเวลาและทักษะในการทำงานของผู้ทดลอง ส่งผลทำให้เกิดความล่าช้าในการผลิตและส่งออกสู่ตลาดไม่ทันการณ์ หากต้องการผลที่ถูกต้องก็ต้องทำการทดลองซ้ำๆ ซึ่งก็ต้องใช้เวลาที่มากขึ้น หากต้องการผลการทดลองที่แม่นยำและรวดเร็วก็อาจจะต้องใช้งบประมาณในการจ้างผู้เชี่ยวชาญมาดูแล ดังนั้นเพื่อผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือและรวดเร็ว คือการใช้เครื่องไทเทรตแบบอัตโนมัติจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ประเภทของการไทเทรต ดังนี้         
1. การไทเทรตกรด-เบส
2. การไทเทรตปฏิกิริยารีดอกซ์
3. การไทเทรตปฏิกิริยาการเกิดสารเชิงซ้อน
4. การไทเทรตอาร์เจนโตเมตริก
5. การไทเทรตโดยใช้หัววัดไอออน (ISE)
6. การไทเทรตปฏิกิริยาที่ไม่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย
7. การไทเทรตตกตะกอน

วิธีการวัดโดยใช้หัววัดตรวจวัดแสง (Photometric Titration)       
เทคนิคไทเทรตโดยใช้ตัวตรวจวัดแสงมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวอย่างที่จะทดสอบ ในเรื่องของความขุ่น ความเข้มข้น และอินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการบ่งชี้ถึงจุดยุติของการไทเทรต ตัวตรวจวัดแสงที่เลือกใช้งานแบบโฟโตไดโอดซึ่งตอบสนองต่อความยาวคลื่นแสงที่แตกต่างกัน
(470nm/525nm/590nm/625nm) ซึ่งจะทำให้สามารถตรวจจับหาจุดยุติของการไทเทรตได้อย่างแม่นยำส่งผลให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและสามารถทวนสอบได้ สำหรับข้อดีที่สำคัญคือวิธีการบำรุงรักษาง่ายและอายุการใช้งานนาน เนื่องจากไม่ได้สัมผัสกับสารเคมีโดยตรง ต่างกับอิเล็กโทรดที่ใช้หลักการไฟฟ้าเคมีที่จะเสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ ตามอายุการใช้งาน

การประยุกต์ใช้งานด้วย “วิธีตรวจวัดแสง” สามารถใช้หาความกระด้างในน้ำ (Calcium Hardness) ได้ โดยใช้หัววัดแสงที่ความยาวคลื่น 525 nm ไทเทรตด้วย EDTA และเติม NaOH เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาโดยใช้โอโครมบลูแบลดอาร์ เป็นอินดิเคเตอร์ จากนั้นสามารถหาค่าความกระด้างได้ในหน่วย mg/L ในรูป CaCO3 และยังสามารถประยุกต์การใช้งานอื่นๆ ได้อีกมากมาย หากสนใจโปรดติดต่อเรา

 

เครื่องไทเทรตแบบอัตโนมัติด้วยหัววัดโฟโตไดโอดที่ให้ผลการวัดที่มีประสิทธิภาพสูงและแม่นยำ (Hanna Instruments)

 

(คลิกเพื่อดูสินเค้าเพิ่มเติม)

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

 

Email Addresses
[email protected]

CONTACT US
Line : @hannathailand
FB : HannaThailand