ระดับความเค็มเท่าไหร่ถึงพอดี | Hanna Instruments

           เกลือหรือเรียกทางเคมีว่าโซเดียมคลอไรด์ โดยปกติคนไทยมักจะบริโภคเกลือสูงประมาณ 3,000 – 5,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเกินมาตรฐานมาก แล้วความเค็มเท่าไหร่ถึงจะพอดี ?ปริมาณเกลือที่ควรจะได้รับจะต้องไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันหรือประมาณ 1 ช้อนชา แหล่งเกลือที่พบในชีวิตประจำวันของเรามาจากเครื่องปรุงรสต่างๆ อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป กุนเชียง แฮม ไส้กรอก    ปลาร้า ปูเค็ม ไข่เค็ม อาหารหมักดอง และขนมขบเคี้ยวต่างๆ

            คนไทยส่วนใหญ่บริโภคเครื่องปรุงรสเกือบจะทุกวันที่นิยมมากที่สุดคือ น้ำปลา รองลงมาคือ
ซีอิ๊วขาว เกลือ กะปิ ซอยหอยนางรม และผงปรุงรสสำเร็จรูป รวมถึงอาหารสำเร็จรูปที่มีค่าเกลือสูงมาก คือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งมีปริมาณเกลือสูงถึง 1,200 มิลลิกรัมต่อซอง และปลากระป๋อง หากเราได้รับปริมาณความเค็มมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย หรืออาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้

ในปัจจุบันพบผู้ป่วยจำนวนมากที่เป็นโรคเกี่ยวกับพฤติกรรมติดเค็ม สาเหตุหลักที่พบมาจากการกินอาหารสำเร็จรูป เน้นกินง่าย รวดเร็วและเน้นความอร่อยของรสชาติ โดยไม่ทันได้คำนึงถึงปริมาณโซเดียมที่แอบแฝงอยู่ในอาหาร เมื่อรู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นโรคประจำตัวแล้ว ดังนั้นเราจึงต้องเรียนรู้วิธีการควบคุมปริมาณของโซเดียมในแต่ละวันให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

ทราบหรือไม่ว่า ? ทุกวันนี้พบว่ามีบริโภคเกลือประมาณปีละ 300 ล้านตัน ในรูปแบบต่างๆ เช่นผลิตสบู่ ยาย้อม ฟอกหนังสัตว์ เก็บรักษาอาหาร ใช้ในตู้เย็น ละลายหิมะ ฟอกกระดาษ ฯลฯ รวมถึงองค์ประกอบ ในร่างกายของมนุษย์ เช่น เลือด เหงื่อ น้ำตา จึงสามารถกล่าวได้ว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการเกลือในการดำรงชีวิตทั้งสิ้น โดยทั่วไปเวลาเรากล่าวว่าร่างกายต้องการเกลือ เราหมายถึงความต้องการโซเดียม เพราะโซเดียมสามารถควบคุมอัตราการเข้า-ออกของน้ำในเซลล์ และเป็นสื่อส่งรับสัญญาณไฟฟ้าระหว่างเซลล์ประสาท เกลือในร่างกายมีหน้าที่ช่วยเผาผลาญโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตทำให้มีพลังงาน

ค่าของปริมาณความเค็มในอาหาร 
การวัดค่าระดับความเค็มในอาหารสามารถแบ่งระดับได้ ดังนี้
1. ระดับความเค็มที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ มีความเค็มต่ำ จะต้องวัดได้ค่าน้อยกว่า 0.7% NaCl และสามารถคำนวณกลับเป็นปริมาณโซเดียมได้เท่ากับ 275.3 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร
2. ระดับความเค็มที่มีความเค็มเป็นกลาง จะวัดได้ค่า 0.7-0.9% NaCl และสามารถคำนวณกลับเป็นปริมาณโซเดียมได้เท่ากับ 275.3-354 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร
3. ระดับความเค็มที่มีความเค็มสูง จะวัดได้ค่าที่มากกว่า 0.9% NaCl และสามารถคำนวณกลับเป็นปริมาณโซเดียมได้มากกว่า 354 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่เป็นอันตราย

สำหรับในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร/เครื่องดื่ม/อาหารว่าง การควบคุมปริมาณความเค็มถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เนื่องจากทุกโรงงานจะต้องมีการควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อคุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์ในการจัดจำหน่ายแก่ผู้บริโภค ดังนั้นจึงต้องหาตัวช่วยเพื่อลดความผิดพลาดและให้ผลการวัดที่ถูกต้องแม่นยำ

วิธีวัดความเค็มในอาหาร     
การวัด“ความเค็มในอาหาร”นั้นจะเป็นตัวช่วยทำให้เราสามารถประเมินความเค็มในอาหาร 1 จานว่ามีปริมาณโซเดียมเท่าไหร่ได้ เนื่องจากในปัจจุบันมีเทคนิคในการวัดหลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น วัดด้วยเครื่องรีแฟคโตมิเตอร์ เพียงแค่หยดตัวอย่างลงบนช่องวัดก็สามารถอ่านค่าได้ทันที หรือวัดโดยอาศัยเทคนิคหาปริมาณไอออน (ISE) เพียงแค่จุ่มหัววัดลงในตัวอย่าง ตัวเครื่องก็จะประมวลผลการวัดในหน่วยความเข้มข้นของเกลือ หรืออีกเทคนิคที่มีผู้เลือกใช้งานมากที่สุดคือ เทคนิคการไทเทรต เนื่องจากเป็นเทคนิคที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงและผลลัพธ์ถูกต้องแม่นยำ

เทคนิคการไทเทรตแบบโพเทนชิโอเมตริก คือกระบวนการหาปริมาณสารโดยใช้สารละลายมาตรฐานที่ทราบความเข้มข้นที่แน่นอนทำปฏิกิริยากับสารตัวอย่างที่เราไม่ทราบความเข้มข้นแต่ทราบปริมาณที่แน่นอน จากนั้นหาจุดยุติโดยวัดจากค่าศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้น ปริมาตรของไทแทรนต์ที่ทำปฏิกิริยาพอดีกับสารตัวอย่างแล้วเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนจะสามารถนำมาคำนวณหาความเข้มข้นของไอออนได้

 

“เครื่องไทเทรตแบบอัตโนมัติ” หาปริมาณความเค็มให้ผลการวัดที่มีประสิทธิภาพแม่นยำ (Hanna)

 

(คลิกเพื่อดูสินเค้าเพิ่มเติม)

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

 

Email Addresses

[email protected]

 

CONTACT US

Line : @hannathailand

FB : HannaThailand