ภาษีความเค็ม | เรื่องที่ทุก ๆ คนควรรู้

ภาษีความเค็ม

อย่างที่เรารู้กันดีว่าอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด หรือมีปริมาณโซเดียมสูงเกินไป ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย ถึงแม้ว่าโซเดียมจะช่วยในเรื่องของการรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย และช่วยให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเป็นปกติก็ตาม แต่หากร่างกายได้รับในปริมาณที่เกินความต้องการก็จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน ฯลฯ ซึ่งในประเทศไทยพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 10 ล้านคนและเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 7 ล้านคน จึงทำให้องค์กรอนามัยโลกออกกฎหมาย “การเก็บภาษีความเค็ม” เพื่อลดปัญหาทางด้านสุขภาพร่างกาย

“โซเดียมหรือเกลือ เป็นเครื่องปรุงแต่งรสที่ให้ความเค็ม ถือเป็นเกลือแร่ที่สำคัญในร่างกาย หากรับประทานในปริมาณสูงเกินพอก็จะส่งผลไม่ดีต่อร่างกาย”

ในอาหารเกือบทุกชนิดจะใช้เกลือแกงเป็นองค์ประกอบ การบริโภคเกลือในปริมาณสูงจะทำให้เกิดการรบกวนการดูดซึม และทำให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อรักษาระดับของโซเดียมให้สมดุล ในระยะยาวจะส่งผลให้การทำงานลดลงและเสื่อมสภาพในที่สุด ซึ่งการทดสอบปริมาณเกลือในปัสสาวะสามารถบ่งบอกความผิดปกติการทำงานของไตได้ อย่างไรก็ตามโรคที่เกิดจากความเค็มสามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย แต่ถ้าอยู่ในช่วงอายุมากการรับประทานอาหารรสชาติที่มีปริมาณโซเดียมสูงก็อาจจะเป็นการกระตุ้นและเพิ่มความเสี่ยงของโรคได้ง่ายขึ้น ดังนั้นหนทางที่ดีที่สุดควรรู้จักควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม อ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่าร่างกายของคนเราควรรับโซเดียมไม่เกินวันละ 2,400 มิลลิกรัม ซึ่งรวมการปรุงแต่งรสด้วยเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว น้ำมันหอย และเครื่องปรุงรสอื่นๆ หรือเทียบกับเกลือ 1 ช้อนชาจะมีปริมาณโซเดียมประมาณ 2,000 มิลลิกรัม ตามที่องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำว่าผู้ใหญ่ควรบริโภคเกลือน้อยกว่า 5 กรัมหรือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน

ระดับปริมาณความเค็มในอาหารสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้      

– ระดับความเค็มที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ควบคุมให้อยู่ในช่วง < 0.7% NaCl        
– ระดับความเค็มปานกลาง วัดระดับความเค็มจะอยู่ในช่วง 0.7-0.9 % NaCl                  
 – ระดับความเค็มสูง วัดระดับความเค็ม > 0.9% NaCl

ภาษีความเค็ม คือ        
การจัดเก็บภาษีเฉพาะสินค้าที่มีปริมาณโซเดียมสูงเกินมาตรฐานความเค็มตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับการผลิตให้มีปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์ตรงตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีเพิ่ม และสร้างเสริมสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค โดยการเก็บภาษีจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งโซเดียมที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมมี 2 ประเภท คือ โซเดียมที่ใช้ยืดระยะเวลาอาหารและสินค้า เช่น การถนอมอาหาร คิดเป็น 20% ของปริมาณโซเดียมที่ใช้ในปัจจุบัน (ไม่เก็บภาษี เพราะถือว่าใช้ปริมาณน้อยมาก) และโซเดียมที่ใช้ในการปรุงรสชาติ 80% ของปริมาณโซเดียมที่ใช้ในปัจจุบัน (เก็บภาษี เพราะถือว่าไม่จำเป็นต้องใส่ในอาหาร)

กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโซเดียมสูง   
         บะหมี่สำเร็จรูป/อาหารแช่แข็ง/แช่เย็น/โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป/อาหารสำเร็จรูป/ปลากระป๋อง/ขนมขบเคี้ยว/ซอสปรุงรส/ผงชูรส

เครื่องปรุงรส

ปริมาณ

โซเดียม (mg)

ผงปรุงรส

1 ช้อนชา

950

ผงชูรส

1 ช้อนชา 600

ซอสหอยนางรม

1 ช้อนโต๊ะ

420-490

น้ำปลา/ซีอิ๋ว/ซอสปรุงรส

1 ช้อนชา

400

ผงฟู

1 ช้อนชา 340
ซอสพริก/น้ำจิ้มไก่ 1 ช้อนชา

220

ทำไมรัฐบาลจึงต้องเก็บภาษีความเค็ม ?

องค์การอนามัยโลก (WHO) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรมควบคุมโรค รวมถึงเครือข่ายลดการบริโภครสเค็ม พบว่าในปัจจุบัน “คนไทยติดการรับประทานอาหารรสเค็มจัด” เป็นอย่างมาก จึงทำให้รัฐบาลไทยมีแนวคิดจัดเก็บภาษีความเค็ม เพื่อควบคุมการทานอาหารที่มีความเค็มจัดหรืออาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดี

ผลกระทบจากการบริโภคเกลือเกินความต้องการของร่างกาย 
– เกิดการคลั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่างๆ เช่น แขน ขา หัวใจ และปอด          

– ทำให้ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้เกิดผลเสียต่อหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจและสมอง  
– ส่งผลเสียต่อไต ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เพื่อเพิ่มการกรองโซเดียมและน้ำส่วนเกินของร่างกาย

สรุป

โซเดียมหรือเกลือแกงจัดเป็นเกลือแร่ที่สำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของเกลือแร่ การกระจายตัวของน้ำในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ควบคุมสมดุลของกรด-ด่าง ควบคุมการเต้นของหัวใจและชีพจร มีผลต่อความดันโลหิตและการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ดังนั้นการควบคุมปริมาณโซเดียมจึงเป็นสิ่งที่ทางกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมควรตระหนักถึงโทษของความเค็มและผลเสียที่จะเกิดกับผู้บริโภค ดังนั้นแนวทางที่จะช่วยในการลดปริมาณโซเดียมคือต้องควบคุมให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

Hanna จึงขอแนะนำเครื่องวัดค่าความเค็ม (Digital Refractometer) รุ่น HI96821 สำหรับวัดความเค็มในอาหาร ภายใต้แบรนด์ฮานนา ตัวเครื่องใช้งานง่าย ใช้เวลาในการทดสอบ 1.5 วินาที และใช้ปริมาณตัวอย่างเพียงแค่ 2-3 หยด พร้อมกับรายงานค่าในหน่วย g/100g g/100ml S.G. และ ˚Baume

(คลิกเพื่อดูสินเค้าเพิ่มเติม)

 

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ
“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

Email Addresses
shop@hannathaicom

 

CONTACT US
Line : @hannathailand
FB : HannaThailand