การวัดค่า pH สำหรับกระบวนการผลิตในห้องปฏิบัติการ

ห้องปฏิบัติการหรือห้องทดลองเปรียบเสมือนรากฐานของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานเพื่อการวิจัย การทดลอง รวมถึงพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่างๆ ในวงการแพทย์ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง น่าเชื่อถือและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อมนุษย์บนโลกทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ดังนั้นห้องปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมจะต้องมีความสมบูรณ์ในส่วนของเครื่องมือวิเคราะห์และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ยอมรับ

ห้องปฏิบัติการ คือ ห้องแลปที่ใช้สำหรับการทดลอง หรือการวิจัยต่างๆ โดยแต่ละอุตสาหกรรมที่ได้รองรับมาตรฐานมักจะสร้างห้องปฏิบัติการเพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามกฎระเบียบของกระทรวงอุตสาหกรรม เนื่องจากห้องปฏิบัติการที่ดีควรจะมีเครื่องมือวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ครบถ้วน รวมถึงการควบคุมสภาวะแวดล้อมภายในห้องให้เป็นไปตามที่กำหนด เพื่อความปลอดภัยและป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

การวัดค่า pH ในห้องปฏิบัติการได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นสำหรับในอุตสาหกรรมต่างๆ เนื่องจากค่า pH ถือเป็นพารามิเตอร์หลักที่ทุกโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องควบคุมตั้งแต่เริ่มกระบวนการจากต้นทางจนถึงปลายทาง และการควบคุมค่า pH บ่งบอกอะไรหลายอย่าง เช่น สำหรับกลุ่มคนรักสุขภาพจะเลือกดื่มน้ำที่มีค่า pH เป็นด่างอ่อนๆ เพื่อปรับสมดุลของร่างกายให้เหมาะสม การควบคุมค่า pH ในกระบวนการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม หรือการควบคุมค่า pH สำหรับการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น ทุกอย่างล้วนจะต้องการวัดค่า pH ด้วยกันทั้งนั้น

ข้อควรปฏิบัติด้านสภาพแวดล้อมในห้องปฏิบัติการ
– อุณหภูมิมาตรฐานของห้องปฏิบัติการอยู่ที่ 20 ± 5 ˚C ความชื้นสัมพันธ์ 45 – 65%
– การสั่นสะเทือนของพื้นดิน 10 Hz
– ปริมาณแสงควรจะเพียงพอต่อการวิจัยหรือทดลอง
– จำกัดจำนวนผู้ใช้งานในแต่ละวัน เนื่องจากส่งผลต่อความผันผวนของอุณหภูมิและความชื้น
– หลังจากใช้งานเสร็จผู้ใช้งานควรทำความสะอาดเครื่องมือทุกครั้ง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองเกาะ
– ในกรณีเกิดความผันผวนของสภาพแวดล้อมผู้ใช้งานควรจะต้องควบคุมสภาวะห้องให้นิ่งก่อนทำงาน

ความสำคัญของการวัดค่า pH ในห้องปฏิบัติการ

เครื่องวัดค่ากรด-ด่าง (pH Meter) เป็นเครื่องมือพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ในห้องปฏิบัติการจำเป็นต้องมี ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเครื่องมือวัดค่า pH ขึ้นมาทดแทนการใช้กระดาษลิตมัสจากการสังเกตสี ทำให้เกิดความสะดวกสำหรับผู้ใช้งานมากขึ้นเพราะตัวเครื่องแสดงเป็นตัวเลขดิจิตอลที่บริเวณหน้าจอ โดยเครื่องมือวัดค่า pH จะอาศัยเทคนิคการวัดปริมาณความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนและไฮดรอกไซด์ในสารละลายโดยวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า (แรงดันไฟฟ้า) เปรียบเทียบกับอิเล็กโทรดอ้างอิง ในช่วงการวัดค่า 0-14 pH เรียงลำดับจากช่วงสภาวะกรด (<7) สภาวะกลาง (~7) และสภาวะด่าง (>7)   สำหรับในห้องปฎิบัติการ เครื่องวัดค่า pH ที่เหมาะสมคือ เครื่องวัดคุณภาพน้ำ รุ่น HI5222
(pH/ISE/ORP พร้อมโหมด CAL Check™) ด้วยลักษณะการใช้งาน ขนาดของตัวเครื่อง รวมถึงฟังก์ชันต่างๆ มีความเหมาะสมและสิ่งสำคัญที่สุดคือ ความถูกต้องแม่นยำของการอ่านค่าต้องมีประสิทธิภาพการทำงานสูง นอกเหนือจากการวัดค่า pH แล้วพารามิเตอร์อื่นๆ ก็ควรคำนึงถึง เช่น ค่าการนำไฟฟ้า ค่าโออาร์พี ค่าของแข็งที่ละลายในน้ำ เป็นต้น

(คลิกเพื่อดูสินเค้าเพิ่มเติม)

 

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด
ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ
“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

 

Email Addresses
shop@hannathaicom

CONTACT US
Line : @hannathailand
FB : HannaThailand