เลี้ยงปลาคาร์ฟ | ต้องทราบค่า pH ของน้ำด้วยนะ

ทราบหรือไม่ ? คุณภาพน้ำที่ดีจะทำให้การเลี้ยงปลาคาร์ฟของเรานั้นดีตามไปด้วย ดังนั้นค่า pH ของน้ำกับปลาคาร์ฟ จึงเป็นเรื่องที่เราไม่ควรมองข้าม การควบคุมคุณภาพน้ำที่นิยมวัดมีหลายพารามิเตอร์ เช่น ความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิ ปริมาณออกซิเจนในน้ำ เป็นต้น โดยคุณสมบัติของน้ำแต่ละพารามิเตอร์ก็มีความสำคัญแตกต่างกันออกไป น้ำที่เราเห็นว่าใสที่แท้จริงอาจจะไม่สะอาดก็เป็นได้ หากเราศึกษาองค์ประกอบหลักของน้ำในบ่อเลี้ยงอย่างถูกวิธี และควบคุมคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้ปลาคาร์ฟที่เราเลี้ยงนั้นเจริญเติบโตดี สุขภาพแข็งแรง รวมทั้งสีและรูปร่างสวยงามแน่นอน

ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ในน้ำที่เหมาะสมสำหรับบ่อเลี้ยงปลาคาร์ฟ

ปลาคาร์ฟจะสามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำได้ในสภาวะที่ค่า pH ค่อนข้างจำกัด โดยพบว่าค่า pH ของน้ำที่จะสามารถเลี้ยงปลาคาร์ฟได้อยู่ในช่วง 6.5-8.5 หากค่า pH ในบ่อเลี้ยงสูงหรือต่ำเกินไปจะส่งผลให้ปลาคาร์ฟเกิดสภาวะภูมิคุ้มกันตก มีอาการตัวแดง (เส้นเลือดขึ้นตามตัว) ตัวสากและตายุบ ขณะที่แบคทีเรียที่ดีในบ่อกรองจะปรับตัวตามค่า pH ที่เปลี่ยนไปได้น้อยกว่า ซึ่งควรจะต้องอยู่ในช่วง pH 7.0-8.2 ดังนั้นค่า pH มาตรฐานที่ต้องควบคุมจะถูกกำหนดให้อยู่ในช่วง 7.0-7.7 นั่นเอง

            ในแต่ละช่วงเวลาจะสังเกตเห็นได้ว่าค่า pH จะไม่คงที่ โดยช่วงตอนดึกถึงตอนเช้ามืดพบว่า ค่า pH ในน้ำจะต่ำกว่าตอนช่วงบ่าย เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากปลา แบคทีเรีย และตะไคร้น้ำในบ่อเลี้ยงจะถูกปล่อยออกมา ในขณะที่ตอนกลางวันในบ่อเลี้ยงปลาจะมีค่า pH สูงกว่าเนื่องจากแบคทีเรียและตะไคร่น้ำจะต้องใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาในการสังเคราะห์แสง

            หากค่า pH ต่ำกว่า 7 นั่นแสดงว่าค่าน้ำมีสภาวะเป็นกรด เช่น pH 5.5 จะเกิดจากปริมาณตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายในบ่อเลี้ยงปริมาณมากเกินไป บ่อมีความสกปรก โดยสามารถสังเกตได้จากการ หายใจของปลาแบบถี่ ว่ายแฉลบ หรือกระโดด ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการล้างช่องกรองและเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ   

การปรับค่าความเป็นกรด-ด่างในบ่อเลี้ยงปลา

สภาวะของน้ำในบ่อเลี้ยงปลาคาร์ฟที่มีสภาพเป็นกรดจะไม่ส่งผลดีต่อการเลี้ยงปลาคาร์ฟ จึงต้องมีการปรับสภาพของน้ำโดยการเติมปูนขาวจะช่วยทำให้ค่า pH และค่าความกระด้างของน้ำสูงขึ้นไปด้วย ยิ่งถ้าเป็นบ่อที่สร้างใหม่จะต้องมีการควบคุมคุณภาพน้ำบ่อยกว่าปกติ หากความเป็นกรดสูงจะทำให้ปลาผิวหนังซีด สีขาวขุ่น ว่ายน้ำไปมาแบบรวดเร็ว นอกจากนี้ปลาจะพยายามฮุบอากาศและพยายามกระโดดออกจากบ่อและในที่สุดก็จะตาย เช่นเดียวกับน้ำมีสภาวะเป็นด่าง pH 8-9 หรือสูงกว่า ส่งผลให้ครีบปลากร่อนและเกิดการระคายเคืองขึ้นที่เหงือกของปลาทำให้ระหายใจขัดข้อง การป้องกันไม่ให้ค่า pH สูงสามารถสังเกตได้จากสีของน้ำเลี้ยงไม่ให้เกิดสีเขียวมากเกินไป โดยอาจทำได้จากการลดอาหารพร้อมกับถ่ายน้ำเลี้ยงอยู่เสมอ รวมถึงไม่ควรเลี้ยงปลาหนาแน่นมากเกินไป

 

การวิเคราะห์คุณภาพน้ำเบื้องต้น เช่น ความเค็ม ความเป็นกรดด่าง ความเป็นด่าง ความกระด้าง และปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ฯลฯ เครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพน้ำเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญใน“การเลี้ยงปลา”คาร์ฟที่เราชื่นชอบ ดังนั้นการควบคุมคุณภาพน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของปลาคาร์ฟจึงต้องตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำอย่างสม่ำเสมอและสังเกตอาการของปลาคาร์ฟควบคู่ด้วย

 

(คลิกเพื่อดูสินค้าเพิ่มเติม HI98194) , (คลิกเพื่อดูสินค้าเพิ่มเติม HI98191) , (คลิกเพื่อดูสินค้าเพิ่มเติม HI98193) , (คลิกเพื่อดูสินค้าเพิ่มเติม HI991001)

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

 

“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

Email Addresses

[email protected]

 

CONTACT US

Line : @hannathailand

FB : HannaThailand