ความเค็มของน้ำ | สิ่งสำคัญในการ”เลี้ยงปลาทะเล”

การ”เลี้ยงปลาทะเล”มีหลากหลายปัจจัยที่ต้องควบคุมคุณภาพของน้ำเพื่อให้สัตว์เลี้ยงสามารถเจริญเติบโตตามวิวัฒนาการอย่างเหมาะสม จึงถือว่าไม่ใช่เรื่องยากหากผู้เลี้ยงเป็นคนที่มีความเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ ใจเย็น และมีความชื่นชอบอย่างมาก เนื่องจากการเลี้ยงปลาทะเลนั้นต่างจากการเลี้ยงปลาน้ำจืดมากจะต้องมีการควบคุมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมจริงที่ปลานั้นๆ อาศัยอยู่ อีกทั้งหากสนใจเลี้ยงปะการังควบคู่ด้วยก็จะยิ่งเพิ่มความยากในการเลี้ยงตามชนิดหรือพันธุ์ของปะการังทำให้เงื่อนไขในการดูแลเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

ความสำคัญของน้ำต่อการดำรงชีวิต

– เป็นแหล่งออกซิเจนที่ปลาจะต้องหายใจ ออกซิเจนที่ปลาใช้หายใจจะต้องละลายลงในน้ำ สภาพน้ำที่ดีมีการเจือปนของสิ่งต่างๆน้อยจึงจะมีการละลายของออกซิเจนได้ดี ส่งผลให้ปลาสุขภาพดี

– มีผลต่อการเจริญเติบโต น้ำที่มีคุณภาพเหมาะสมจะทำให้ปลามีการเจริญเติบโตได้ดี สภาพน้ำที่เกิดจากของเสียจากการขับถ่ายของปลามากเกินไปจะทำให้ปลาแคระแกรน เติบโตช้า ถึงแม้ปลาจะยังมีการกินอาหารที่ดีก็ตาม

– มีผลต่อการกินอาหารของปลา หากสภาพของน้ำไม่เหมาะสมจะทำให้กินอาหารได้น้อยลง การว่ายน้ำเชื่องช้า อ่อนแอและเกิดโรคได้ง่าย

– มีผลต่อสีสันของปลา น้ำที่คุณภาพไม่เหมาะสมจะมีผลทำให้ปลามีสีที่ซีดจาง

มาตรฐานคุณภาพน้ำที่เหมาะสมสำหรับปลาทะเลคือ ความเค็มของน้ำทะเล
น้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีอยู่ในทะเลตามธรรมชาติจะประกอบด้วยแร่ธาตุ เกลือแร่ และสารประกอบอื่นๆ อีกหลายสิบชนิด ความเค็มของน้ำทะเลที่เราจะนำมาใช้เลี้ยงปลานั้นควรมีความเค็มอยู่ที่ 35 ppt (mg/L) แต่การวัดค่าความเค็มทำได้ยาก ค่าความเค็มของน้ำทะเลจึงนิยมบอกเป็นความหนาแน่นสัมพัทธ์ ซึ่งค่าความหนาแน่นของน้ำเรียกว่า Specific gravity (SG) ค่าความหนาแน่นของน้ำจะมีความสัมพันธ์กับค่าความเค็มกล่าวคือยิ่งน้ำเค็มมากเท่าไหร่ความหนาแน่นของน้ำก็จะมากขึ้นเท่านั้น โดยอยู่ในช่วง 1.20 – 1.25

การตรวจสอบความเค็มของน้ำทะเล

หน่วยของความเค็มน้ำทะเลวัดในหน่วย ppt (g/L) ใน“น้ำทะเล”ปกติจะพบความเค็มประมาณ 35 ppt นั่นหมายความว่าปริมาตรน้ำทะเล 1 ลิตรจะประกอบด้วยเกลือชนิดต่าง ๆ ละลายอยู่จำนวน 35  กรัม ดังนั้นการเตรียมน้ำทะเลสังเคราะห์ตามสูตรต่าง ๆจะได้น้ำที่มีความเค็มในช่วง 30 – 35 ppt เพื่อความปลอดภัยในการเลี้ยงปลาทะเลจะต้องทราบระดับความเค็มที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตของปลาทะเลแต่ละชนิดก่อน ดังนั้นก่อนที่จะปล่อยปลาเลี้ยงลงในน้ำทะเลสังเคราห์ควรจะต้องตรวจสอบหาค่าความเค็มของน้ำก่อนเสมอ และควรวัดค่าความเค็มอยู่เสมอ ซึ่งเครื่องมือและวิธีการตรวจสอบหาความเค็มของน้ำที่นิยมใช้มีดังนี้

1.ใช้เครื่องวัดความถ่วงจำเพาะของน้ำ (Hydrometer)

ลักษณะเป็นหลอดแก้ว ปัจจุบันมีการผลิตเครื่อง Hydrometer ที่ใช้สำหรับเลี้ยงปลาทะเล โดยตัวเครื่องจะมีขีดที่แสดงถึงค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำทะเล โดยมีค่าประมาณอยู่ที่ 1.0002 ดังนั้นจะแสดงขีดที่แสดงระดับค่าความถ่วงจำเพาะ 1.0002 ไว้ชัดเจน เมื่อหย่อนเครื่องลงในน้ำทะเล ขีดแสดงค่าสูงกว่าผิวน้ำแสดงว่าน้ำมีความเค็มสูงกว่า 32 ppt แต่ถ้าขีดนี้จมใต้ผิวน้ำแสดงว่าน้ำมีความเค็มต่ำกว่า 32 ppt จากหลักการข้างต้นสำหรับน้ำทะเลสังเคราะห์มักจะได้น้ำที่มีความเค็มมากกว่าปกติ ดังนั้นเมื่อหย่อนเครื่อง Hydrometer ลงน้ำ ขีดที่กำหนดจะอยู่สูงกว่าผิวน้ำให้เติมน้ำจืดลงไปทีละ 1 – 5 ลิตร แล้วแต่ขนาดของตู้ รอจนกว่าน้ำจะผสมเข้ากันดีแล้ววัดด้วยเครื่อง Hydrometer อีกครั้ง ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนขีดที่กำหนดอยู่ที่ผิวน้ำพอดี วิธีนี้จึงจัดเป็นวิธีการหาค่าความเค็มแบบคร่าวๆ แต่ก็ประหยัดแถมยังสามารถทำได้ง่าย

2.ใช้เครื่อง Refractometer

ลักษณะเป็นเครื่องตั้งโต๊ะ มีบริเวณช่องใส่ตัวอย่างขนาดเล็กสำหรับหยดตัวอย่าง ตัวเครื่องสามารถแสดงผลออกมาได้หลากหลายหน่วยคือ ppt / PSU / SG สามารถใช้งานสะดวก ทำความสะอาดง่าย แสดงผลการวิเคราะห์รวดเร็ว และที่สำคัญใช้ปริมาณตัวอย่างน้อยมากเพียงแค่ 100 µL หรือประมาณ 3 หยด จึงถือว่าเป็นเครื่องมืออีกประเภทที่ตอบโจทย์การใช้งานหาค่าความเค็ม นอกจากค่าความเค็มที่เป็นปัจจัยสำคัญแล้วยังมีตัวแปรอื่นๆ ที่จะต้องควบคุมอีกด้วย เช่น ไนเตรต / ฟอสเฟต / ไนไตรต์ / อัลคาลินิตี้ / ฟอสฟอรัส / แคลเซียม / แอมโมเนีย / กรด-ด่าง

ค่า pH ที่เหมาะสมกับการเลี้ยงปลาทะเล

ค่าความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมกับการเลี้ยงปลาทะเลจะอยู่ในช่วง 8.0 – 8.6 โดยค่า pH จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอาจมาจากสาหร่ายทะเล แพลงก์ตอนพืช และปะการังชนิดต่างๆ นำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปลาหายใจออกมาไปใช้ในการสังเคราะห์แสงและเปลี่ยนเป็นก๊าซออกซิเจน ทำให้ค่า pH สูงขึ้นในช่วงเวลากลางวัน ส่วนในเวลากลางคืนทั้งพืชและสัตว์จะแข่งกันหายใจเอาก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาส่งผลให้ค่า pH ในช่วงเวลานี้ต่ำลง

สำหรับตู้เลี้ยงปลาใหม่ค่า pH จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันมาก (เปรียบเทียบได้กับดาวพุธที่ช่วงกลางวันมีอุณหภูมิสูงกว่า 1000 กว่าองศา แต่พอกลางคืนอุณหภูมิกลับติดลบถึง 200 กว่าองศา ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตใดสามารถอาศัยอยู่ได้อย่างแน่นอน แต่สำหรับอุณหภูมิของเมืองไทยช่วงกลางวันจะอยู่ที่ประมาณ 32-34 องศา ส่วนในช่วงกลางคืนอุณหภูมิลงไปถึง 25-28 องศา จะเห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้อยมาก) เช่นเดียวกับน้ำในตู้ใหม่ จึงเป็นการเสี่ยงอันตรายหากปล่อยปลาทะเลลงตู้ใหม่ หากต้องการจะเลี้ยงทันทีให้เดินระบบไว้ก่อนประมาณ 1 เดือนหรือเป็นตู้เดิมที่เลี้ยงมาแล้ว 6 เดือนหรือ 1 ปี ค่า pH จะค่อนข้างคงที่เราเรียกว่า ความเสถียรของน้ำนั่นเอง

Hanna Instrument ตัวช่วยในการดูแลปลาทะเลของคุณ เครื่องมือวัดค่าความเค็ม และยังมีเครื่องมือ pH meter อีกมากมายในการวัดค่า pH ต่างๆ

 

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

 

Email Addresses

info@hannathaicom

 

CONTACT US

Line : @hannathailand

FB : HannaThailand