การหาปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2) I ในไวน์ (Wine)

“ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์” (SO2) หรือที่เรารู้จักกัน “กำมะถัน” เป็นก๊าซที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและค่อนข้างมีกลิ่นเหม็นแสบจมูก มีคุณสมบัติละลายในน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี มักทำปฏิกิริยากับสารอื่นจนเกิดเป็นสารประกอบที่อันตราย เช่น กรดซัลฟิวริก ซึ่งมีความสามารถในการกัดกร่อนขั้นรุนแรง เมื่อสัมผัสทำให้เกิดอาการแสบร้อนและบาดเจ็บตามมา โดยทั่วไปในบรรยากาศมักจะพบก๊าซ SO2 ประมาณ 0.02-0.1 mg/L แต่หากพบเจอสูงๆ ประมาณร้อยละ 99% มาจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า การใช้ถ่านหิน หรือน้ำมัน เป็นต้น

ในอุตสาหกรรมอาหารใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์หรือซัลฟูริกแอนไฮไดรด์ในการแปรรูปผักและผลไม้เพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษา โดยไม่ส่งผลเสียต่อรสชาติ ซัลฟูริกแอนไฮไดรด์ที่อยู่ในไวน์เพียงเล็กน้อย เพื่อป้องกันกระบวนการหมักและการสร้างกรดอะซิติก ในขณะเดียวกันซัลฟูริก-แอนไฮไดรด์ยังช่วยยืดอายุการเก็บรักษาของเครื่องดื่มและเพิ่มรสชาติ การเก็บรักษาไวน์ด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์จึงเป็นการบังคับใช้ใน“การผลิตอาหาร”

สำหรับอุตสาหกรรมไวน์จะต้องมีการควบคุมปริมาณก๊าซ SO2 เนื่องจากเป็นสารเติมแต่งทางเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการผลิตไวน์รวมถึงเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการ ก่อนที่จะนำไวน์ไปบ่มหรือนำไปบรรจุใส่ขวด ซึ่งปริมาณที่เติมซัลเฟอร์ไดออกไซด์เข้าไปต้องไม่เกินมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด ไวน์ส่วนใหญ่เราจะสามารถสังเกตได้ว่าจะพบข้อความ “Contains Sulfites” ที่ด้านหลังของฉลากขวด แม้ว่าในไวน์ขวดนั้นจะไม่ได้ใส่ซัลเฟอร์ไดออกไซด์มากเกินที่มาตรฐานกำหนด แต่คนที่เป็นโรคหอบหืด หรือแพ้ซัลไฟต์ก็อาจทำให้เกิดอาหารแพ้หรือปวดหัวก็ได้

ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่เหมาะสมในไวน์

การใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการบริโภค เพราะปัจจุบันก็ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในการทำผลไม้อบแห้งและการทำไวน์ แต่ต้องไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไวน์ มอก.2089-2544 ได้กำหนดให้มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่เกิน 300 mg/dm3 และสำหรับองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดค่าความปลอดภัยไว้คือ ปริมาณที่ได้รับไม่ควรเกิน 0.7 mg/คน/วัน จะเห็นได้ว่าปริมาณที่ควรได้รับก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ เพื่อยืดอายุการบริโภคหรือคุณภาพของไวน์ไว้

อาการที่ไม่พึงประสงค์เมื่อได้รับซัลเฟอร์ไดออกไซด์มากเกินกว่าค่าที่มาตรฐานกำหนด

–   ส่งผลกระทบต่อไต ก๊าซที่เข้าสู่กระแสเลือดจะกระจายไปสู่ ตับ ม้าม และไต ทำให้ระคายเคืองต่อเซลล์ที่สัมผัส หรือถ้ารุนแรงมากๆ ก็อาจถึงแก่ชีวิต
–   คลื่นไส้อาเจียน มีอาการอยากอ้วกตลอดเวลา
–   วิงเวียนศีรษะ ปวดศรีษะ หน้าซีด ตัวชา
–   เกิดอาการใจสั่น หวิวๆ
–   เจ็บคอ กลืนน้ำลายไม่ได้
–   ไอจนหายใจไม่ออก
–   เยื่อบุจมูกเกิดการอักเสบ

ในปัจจุบันมีเครื่องมือสำหรับหาปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์หลายเทคนิคด้วยกัน แต่เทคนิคที่ได้รับความนิยมในการหาปริมาณ SO2 ในไวน์คือเทคนิคการไตเตรต เพราะเป็นวิธีที่ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำ ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานในห้องปฏิบัติการโรงงาน หรืออุตสาหกรรมการผลิตไวน์ใช้เพื่อควบคุมปริมาณ SO2 ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

 

บริษัท ฮานนา อินสทรูเม้นท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

ผู้ผลิตเครื่องมือวัดชั้นนำ

“เพราะเราเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ”

WITH GREAT PRODUCTS, COME GREAT RESULTS.

 

Email Addresses

info@hannathaicom

 

CONTACT US

Line : @hannathailand

FB : HannaThailand